ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวกรุงเทพ > เขตภาษีเจริญ > วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร



วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร

ตั้งอยู่ที่แขวงปากคลองภาษีเจริญ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดอัปสรสวรรค์วรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารตั้งอยู่ที่แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางโดยเรือล่องมาตามคลองบางกอกใหญ่
วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เดิมมีชื่อว่า วัดหมู มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากมีเรื่องเล่ากันว่าจีนอู๋เป็นผู้สร้างในที่ดินที่เคยใช้เลี้ยงหมู เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีหมูมาเดินเพ่นพ่านเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดหมู แต่จะสร้างเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าจอมน้อย (สุหรานากง) ธิดาของเจ้าพระยาพลเทพ (ฉิม) ได้สถาปนาใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะและปฎิสังขรณขึ้นใหม์อีกครั้ง และพระราชทานนามว่า วัดอัปสรสวรรค์ และพระราชทาน พระพุทธรูปปางฉันสมอ ให้เป็นพระประธานและประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ
พระพุทธรูปปางฉันสมอ หรือที่เรียกกันว่า “ หลวงพ่อสมอ ” นั้นเป็นพระพุทธรูปมีลักษณะแบบจีน เป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นสง่า เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวนครหลวงพระบางและเวียงจันทร์ หน้าตักกว้างประมาณศอกเศษ ทรงนั่ง พระหัตถ์ซ้ายถือผลสมอ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาแต่เมืองเวียงจันทร์ โดยเมื่อปราบกบฏเจ้าอนุแล้ว ได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ มาจากเวียงจันทร์หลายองค์ ซึ่งมีพระพุทธรูปปางฉันสมอ รวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย เมื่อถึงกรุงเทพฯ แล้ว ได้ทำการฉลองสมโภชเป็นมหกรรมใหญ่ และได้อัญเชิญสถิตประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระนาก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากบูรณปฏิสังขรณ์วัดอัปสรสวรรค์แล้ว จึงพระราชทานหลวงพ่อฉันสมอมาประดิษฐานที่วัดนี้ ตั้งแต่บัดนั้นกระทั่งถึงปัจจุบัน
พระอุโบสถและพระวิหารสร้างขึ้นแบบศิลปะจีน โดยเลียนแบบวัดราชโอรสฯ ภายในพระอุโบสถมี พระประธานจำนวน 28 องค์ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย ซึ่งมีความเหมือนและมีขนาดเท่ากันทั้งหมด ประดิษฐานอยู่บนชุกชีด้วยกัน โดยพระพุทธรูปเหล่านี้ ได้มีพระนามจารึกไว้ที่หน้าฐานทั้ง28องค์นั้น ได้แก่ พระตัณหังกร อพระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระสุมนะ และ พระโคดม เป็นต้น อีกทั้งยังมีหอพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจ สามารถเข้าชมได้ใน เวลาเปิดทำการ: 07.30 - 17.30 น.ของทุกวันโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม




   เว็บไซต์ :
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


บ้านศิลปิน คลองบางหลวง
คลองบางหลวง คือที่ตั้งเมืองบางกอกแห่งแรกนับตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อราว 500 ปีมาแล้ว ซึ่งต่อมากลายเป็นถิ่นฐานบ้านขุนนางในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้ถูกปรับปรุงบ้านนี้ให้เป็นสถานที่สร้างสรรค์และแสดงงานศิลปะศิลปิน เป็นบ้านของคนรักศิลปะ ที่นี่ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง และยังอิ่มเอมกับงานศิลป์อีกหลายแขนงหุ่นละครเล็กคลองบางหลวง คณะทำนาย เป็นหนึ่งกลุ่มศิลปินที่สร้างสีสันให้บ้าน...

โรงแรมใกล้เคียง


โรงแรม เดอะ ซีซันส์ กรุงเทพ สยาม คะแนน : 7.4   รีวิว : 1440
โรงแรม กรุงเทพ, ประเทศไทย
โรงแรม เดอะ ซีซันส์ กรุงเทพ สยาม ตั้งอยู่ในย่าน ประตูน้ำ ที่มีชื่อเสียงและเดินทางเข้าถึงได้สะดวก ที่พักนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่จะทำให้การเข้าพักของคุณเป็นประสบการณ์ที่น่าอภิรมย์ เจ้าหน้าที่ที่ โรงแรม เดอะ ซีซันส์ กรุงเทพ ...
           
ฌ เฌอ - เดอะ กรีน เรสซิเดนซ์ คะแนน : 7.3   รีวิว : 3
โรงแรม กรุงเทพ, ประเทศไทย
เชิญเข้าพักที่ ฌ เฌอ - เดอะ กรีน เรสซิเดนซ์ เพื่อสำรวจความน่าตื่นตาตื่นใจของ กรุงเทพ ไม่ว่าจะเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจหรือท่องเที่ยววันหยุดก็สามารถเพลิดเพลินไปกับการบริการและสิ่งอำนวยสะดวกของโรงแรมแห่งนี้ได้เช่นกัน คุณสามารถพบบริกา...
           
เสนาเฮาส์ พหลโยธิน 30 คะแนน : 6.9   รีวิว : 46
  โรงแรม กรุงเทพ, ประเทศไทย
เสนาเฮาส์ พหลโยธิน 30 เป็นตัวเลือกที่พักยอดนิยมในหมู่นักเดินทางที่มาเยือน กรุงเทพ ไม่ว่าเพื่อเที่ยวชมหรือแวะพักชั่วคราว โรงแรมแห่งนี้มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกหลากหลาย พร้อมให้คุณได้สัมผัสช่วงเวลาแสนวิเศษตลอดการเข้าพัก เจ้าหน้าที่...
           
ปทุมวันเฮาส์ คะแนน : 7.5   รีวิว : 752
โรงแรม กรุงเทพ, ประเทศไทย
ในย่านท่องเที่ยวยอดนิยมอย่าง สยาม ปทุมวันเฮาส์ เป็นอีกหนึ่งโรงแรมที่รับรองว่าจะทำให้การเข้าพักของคุณเป็นช่วงเวลาแสนสุขอันผ่อนคลาย โรงแรมแห่งนี้นำเสนอการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมาตรฐานดีเยี่ยมเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน...