ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวสุรินทร์ > อำเภอเมืองสุรินทร์ > ศาลหลักเมืองสุรินทร์



ศาลหลักเมืองสุรินทร์

ถนนหลักเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมืองสุรินทร์ สุรินทร์ 32000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง เป็นสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร เดิมเป็นศาลที่ยังไม่มีเสาหลักเมือง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517

ศาลหลักเมืองสุรินทร์เดิมเป็นศาลที่ยังไม่มีเสาหลักเมืองแต่มีความศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานนับ 100 ปี ครั้ง พ.ศ. 2511 จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการขอให้กรมศิลปากรออกแบบแปลนก่อสร้างตัวศาลหลักเมือง เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ซึ่งได้รับมอบมาจาก นายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ ราษฎร อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี มีความสูง 3 เมตรวัดรอบได้ 1 เมตรแกะสลักตกแต่งด้วยเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร ต่อมา วันที่ 21 ส.ค. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานดำรัสว่า “การสร้างเสาหลักเมืองนี้ดี เป็นหลักแหล่งความสามัคคี ขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความสามัคคีกัน สร้างความเจริญก้าวหน้า และขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความร่มเย็นเป็นสุข”

นายสงวน สาริตานนท์ ผวจ.สุรินทร์ ในสมัยนั้น ได้อัญเชิญเสาหลักเมืองมายังจังหวัดสุรินทร์ มีการแห่ไปรอบเมืองและอัญเชิญเสาหลักเมืองขึ้นบนแท่นประดิษฐานไว้ที่ศาลหลักเมือง และเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2517 ได้ประกอบพิธียกเสาหลักเมือง และมีพิธีฉลองสมโภช

ก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้น เมื่อชาวบ้านพบถนนคอนกรีตที่ใช้เป็นสัญจรไปมา ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณศาล มีรอยแยกของถนนอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาถนนเริ่มยกตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ รถยนต์วิ่งผ่านไม่สะดวก หรือบางคันที่วิ่งผ่านต้องมีเหตุให้เครื่องยนต์ดับ จนต้องหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางบริเวณจุดตรงนี้ จากความผิดสังเกตของรอยแตกและยกตัวของถนนคอนกรีต จนสามารถมองเห็นช่องเป็นโพรงใหญ่อย่างชัดเจน ชาวบ้านบางคนลองเอามือล้วงเข้าไปในโพรงดังกล่าว บอกว่ารู้สึกถึงไอความร้อน ณ บริเวณนั้น จนอดที่จะแปลกใจกับเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้ เมื่อแรกขุดเจอพระพุทธรูปนาคปรก ต่อมาก็ได้พบกับวัตถุโบราณในบริเวณใกล้เคียง มีทั้งเครื่องลางรูปพญานาคที่ทำด้วยทองเหลือง เครื่องลางเป็นรูปพระนารายณ์นั่งคู่กับพระนางลักษมี ซึ่งมีพระพิฆเณศอยู่ตรงกลางด้านหน้าทำด้วยทองเหลือง รวมทั้งพระเครื่องดินเผาและกำไลโบราณทั้งหมดจำนวนมาก อายุราว 200 ปี เมื่อได้ขุดลึกลงไปอีกจึงได้พบกับเครื่องปั้นภาชนะดินเผา เชื่อว่าน่าจะมีการสร้างสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1,500 - 2,000 ปี สร้างความฮือฮาให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก ชาวบ้านได้นำมาตั้งไว้บูชา ณ ศาลหลักเมืองที่บริเวณใกล้เคียง




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา
หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ บ้านท่าสว่าง หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า”ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ” เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง”จันทร์โสมา” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์ และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำ และเป็น...
ห้วยเสนง
เขื่อนห้วยเสนง เป็นเขื่อนดิน อยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 7 กิโลเมตร เขื่อนห้วยเสนงสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2520 ปิดกั้นห้วยเสนงและลำน้ำอำปึลที่บ้านโคกจ๊ะ-บ้านถนน-บ้านเฉนียง ที่รับน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำอำปึลเป็นอ่างแฝดทางด้านเหนือเขื่อนซึ่งเป็นฝ่ายส่งน้ำและบำรุง รักษาที่ 1 ชลประทานสุรินทร์ จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและ...
อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) พระยาสุรินทร์ภักดี ฯ (ปุม) เจ้าเมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) ท่านแรก เป็นผู้วางรากฐานการก่อตั้งเมืองสุรินทร์ ในสมัยอยุธยา มีชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่าส่วยหรือกวยกรือกูย เป็นกลุ่มชนที่มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน ได้แบ่งกลุ่มมาตั้งถิ่นฐานอยู่หกพวกด้วยกัน ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ.2302 มีช้างเผือกแตกโขงออกจากเมืองห...
วนอุทยานพนมสวาย
วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย หรือเขาสวาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ตำบลนาบัว ตำบลสวาย มีเนื้อที่ 1,975 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาสวายท้องที่ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ "พนมสวาย" เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ "พนม" แปลว่าภูเขา "สวาย" แปลว่า "มะม่วง" ในหมู่พนมสวายประกอบด้วยภูเขา 3 ลูกติดต่อกันซึ่งมีมีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ "พนมกรอล" แปลว่า "เขาคอก" มีความสูงประมาณ 15...
หมู่บ้านจักสานบ้านบุทม
หมู่บ้านจักสานบ้านบุทม หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า"ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ"เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง"จันทร์โสมา" ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่างมารวมกลุ่มกันทำงานทอผ้ายามว่างจากงานไร่งานนา ...
หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม
หมู่บ้านทอผ้าไหม บ้านจันรม ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวาสินรินทร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในด้านแหล่งทอผ้าไหมพื้นเมือง และแหล่งผลิต เครื่องประดับเงิน ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายหัตถกรรมทั้ง 2 ประเภท นี้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 214 สาย สุรินทร์-จอมพระ ถึงกม.ที่ 14-15 แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 4 กม. ถัดจากหมู่บ้านเขวาสินรินทร์ไป มีหมู่บ้านชื่อ "บ้านโชค และบ้านสดอ" ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่อง...
ห้วยเสนง
เขื่อนห้วยเสนง เป็นเขื่อนดิน อยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 7 กิโลเมตร เขื่อนห้วยเสนงสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2520 ปิดกั้นห้วยเสนงและลำน้ำอำปึลที่บ้านโคกจ๊ะ-บ้านถนน-บ้านเฉนียง ที่รับน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำอำปึลเป็นอ่างแฝดทางด้านเหนือเขื่อนซึ่งเป็นฝ่ายส่งน้ำและบำรุง รักษาที่ 1 ชลประทานสุรินทร์ จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและ...
ปราสาทเมืองที
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที ภายในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ปราสาทเมืองทีเป็นปราสาทแบบเขมรที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทก่อด้วยอิฐฉาบปูน มี 5 หลัง สร้างรวมกันเป็นหมู่บนฐานเดียวกันหลังหนึ่งอยู่ตรงกลาง และอีก 4 หลังอยู่ที่มุมทั้ง 4 ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 หลังซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังกลางมีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ตัวเรือนธาตุตันทึบไม่ม...

โรงแรมใกล้เคียง


เอ็น จอย เพลส คะแนน : 6.7   รีวิว : 1
  โรงแรม สุรินทร์, ประเทศไทย
เอ็น จอย เพลส เป็นตัวเลือกที่พักยอดนิยมในหมู่นักเดินทางที่มาเยือน สุรินทร์ ไม่ว่าเพื่อเที่ยวชมหรือแวะพักชั่วคราว ที่พักนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่จะทำให้การเข้าพักของคุณเป็นประสบการณ์ที่น่าอภิรมย์ เจ้าหน้าที่ที่ เอ็น จอย เพล...
           
เกษมการ์เดนโฮเต็ลสุรินทร์ คะแนน : 7.1   รีวิว : 64
โรงแรม สุรินทร์, ประเทศไทย
เกษมการ์เดนโฮเต็ลสุรินทร์ อยู่ในทำเลที่เหมาะสำหรับนักเดินทางทั้งเพื่อธุรกิจและพักผ่อนหย่อนใจใน สุรินทร์ โรงแรมแห่งนี้เพียบพร้อมด้วยทุกสิ่งที่คุณต้องการสำหรับการเข้าพักที่สะดวกสบาย ห้องประชุม พนักงานต้อนรับ รูมเซอร์วิส ที่จอดรถ Wi-...
           
โรงแรมเดอะแฟนท์ คะแนน : 9.3   รีวิว : 1
โรงแรม สุรินทร์, ประเทศไทย
ในย่านท่องเที่ยวยอดนิยมอย่าง เมืองสุรินทร์ โรงแรมเดอะแฟนท์ เป็นอีกหนึ่งโรงแรมที่รับรองว่าจะทำให้การเข้าพักของคุณเป็นช่วงเวลาแสนสุขอันผ่อนคลาย โรงแรมแห่งนี้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ออกแบบมาเพื่อมอบความสะดวกสบายสูงสุดแก่ผ...
           
จามจุรี รีสอร์ท คะแนน : 6.7   รีวิว : 1
โรงแรม สุรินทร์, ประเทศไทย
จามจุรี รีสอร์ท ที่พักระดับ 2 ดาวแห่งนี้ พร้อมมอบความสะดวกสบายให้คุณไม่ว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจใน สุรินทร์ ไม่ว่าจะเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจหรือท่องเที่ยววันหยุดก็สามารถเพลิดเพลินไปกับการบริการและสิ่งอำนวยสะดวกของโร...