ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอโพธิ์ทอง > วัดขุนอินทประมูล



วัดขุนอินทประมูล

ตำบลอินทรประมูล อำเภอโพธิ์ทอง อ่างทอง โพธิ์ทอง อ่างทอง 14120




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดขุนอินทประมูลตั้งอยู่ในเขตตำบลอินทประมูล เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่มีชื่อว่า พระศรีเมืองทอง มีความยาววัดจากปลายพระเมาลีถึงปลายพระบาทได้ 50 เมตร (25 วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไป เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 เหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. 2296 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ในปี พ.ศ. 2421 และ 2451 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.2516 และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2518 พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจสอบถามข้อมูล

นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงแค่ฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป และ ในศาลาเอนกประสงค์ มีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูลและโครงกระดูกมนุษย์ ขุดพบในเขตวิหารพระพุทธไสยาสน์เมื่อปี พ.ศ. 2541 ลักษณะนอนคว่ำหน้า มือและเท้ามัดไพล่อยู่ด้านหลัง เชื่อกันว่าเป็นโครงกระดูกขุนอินทประมูลแต่บ้างก็ว่าไม่ใช่ สันนิษฐานกันตามประวัติที่ได้เล่ากันว่า เป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ โดยยักยอกเอาเงินของหลวงมาสร้างเพื่อเป็นปูชนียสถาน ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบรับสั่งถามว่าเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ขุนอินทประมูลไม่ยอมบอกความจริงเพราะกลัวส่วนกุศลจะตกไปถึงองค์พระมหากษัตริย์จึงถูกเฆี่ยนจนตาย วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดขุนอินทประมูล”

ในการเดินทางมายังวัดขุนอินประมูลนี้สามารถใช้เส้นทางได้ 3 สายคือสายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (เส้นทางหมายเลข3064 ) พอเจอแยกขวาที่กิโลเมตร 9 ก็ให้เลี้ยงเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือจะเลือกใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่ 64-65 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร หรือสามารถใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก 2 กิโลเมตรก็ได้เช่นกัน




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดโพธิ์ทอง
อยู่ที่บ้านโพธิ์ทอง ตำบลคำหยาด จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่ตรงข้ามทางเข้าบ้านบางเจ้าฉ่า ห่างจากอำเภอเมืองไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทองประมาณ 9 กิโลเมตร วัดโพธิ์ทองไม่มีประวัติความเป็นมามากสักเท่าไรรู้แต่เพียงว่าในพระราชพงศาวดารในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ เจ้าฟ้าอุทุมพร หรือ กรมขุนพรพินิต หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าขุนหลวงหาวัด ซึ่งเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระ...
วัดท่าอิฐ
วัดท่าอิฐตั้งอยู่ที่บ้านท่าอิฐ ตำบลบางพลับ ไปตามทางหลวงหมายเลข 3064 กิโลเมตรที่ 7-8 วัดนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ.2304 บริเวณที่ตั้งเดิมเข้าใจว่าเป็นที่ปั้นเผาอิฐนำไปก่อสร้างวัดขุนอินทประมูล นับว่าเป็นสถานที่ขนอิฐหรือท่าขนอิฐ และเมื่อได้สร้างวัดขึ้นจึงขนานนามว่าวัดท่าอิฐ พระประธานในอุโบสถชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อเพ็ชร” พระประธานในวิหารชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา ประมาณกว่า 200 ปี...
บ้านบางเจ้าฉ่า
บ้านบางเจ้าฉ่าตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า ตำบลนี้เป็นชุมชนที่มีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านได้เคยร่วมกับชาวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และชาวบางระจัน สู้รบกับพม่า ณ บ้านบางระจัน โดยมีนายฉ่าเป็นผู้นำ นายฉ่านั้นพื้นเพเป็นคนสีบัวทอง ภายหลังการสู้รบยุติแล้ว นายฉ่าจึงได้นำชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยถาวรขึ้นในชุมชนด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำน้อยแต่เดิมเรียกว่า บ้านสร้างสามเรือนเพราะเริ...
พระตำหนักคำหยาด
พระตำหนักตำหยาดตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคำหยาด ถัดจากวัดโพธิ์ทอง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2.5 กิโลเมตร บนถนนสายเดียว สภาพปัจจุบันมีเพียงฝนัง 4 ด้าน ตัวอาคารตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ยังคงเห็นเค้าความสวยงามทางด้านศิลปกรรมเช่น ลวดลายประดับซุ้มจรนำหน้าต่าง มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง ภายในทาดินแดง ปูพื้นกระดานในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนต...

โรงแรมใกล้เคียง