ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > วัดปลดสัตว์



วัดปลดสัตว์

- ป่าโมก อ่างทอง -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดปลดสัตว์ เดิมมีนามว่า “วัดสะแก” ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ.2400 ได้เริ่มมีการบูรณะขึ้นโดยมี ขุนธรรมการ (ทองคำ) ได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์มีนามใหม่ว่า “วัดดำรงค์ธรรม” ครั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์และที่พักที่วัดนี้ ทรงปรารภว่า วัดตั้งอยู่ที่บ้านแห ควรจะชื่อว่า “วัดปลดสัตว์” หมายถึงการปลดสัตว์ออกจากแหจึงได้เปลี่ยนนามวัดมาเป็น “วัดปลดสัตว์” สืบต่อมาวัดปลดสัตว์เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแห่งแรกของจังหวัดอ่างทองฝ่ายธรรมยุตนิกาย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 ( วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ) เขตวิสุงคามสีมากว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร

อนึ่ง วัดปลดสัตว์นี้เป็นวัดหัวของธรรมยุตในจังหวัดอ่างทอง คำว่า หัววัดคือ มีตำแหน่งหน้าที่ปกครองคณะวัดของตนในจังหวัดอ่างทองดังได้เห็นจากตำแหน่งการปกครองทางคณะสงฆ์จากประวัติอดีตเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน

วัดปลดสัตว์นี้ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม โบราณสถานและปูชนียสถานอันทรงคุณค่า โดยเฉพาะถูปาคารเจดีย์ เป็นปูชนียสถานอายุราว 150 ปี ถือว่าเป็นสัญลักษณ์วัดปลดสัตว์ก็ว่าได้ โดยสร้างมาตั้งแต่การสร้างอุโบสถ์วัดปลดสัตว์หลังเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสูงยอดเข้าหากันสูง 7 ชั้น ฐานกว้างด้านละ 7 เมตร 7 เซนติเมตร หันหน้าออกทางด้านทิศตะวันออก สร้างตามอย่างเจดีย์พุทธคยา มีทั้งหมด 6 ชั้น เปรียบดังสวรรค์ทั้งหก และมีเจดีย์ประดิษฐานอยู่ด้านบนสุด เปรียบดังพระเจดีย์เกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ เชื่อกันว่า คนที่เกิดปีจอหรือปีมะเส็ง ได้กราบไหว้บูชาจะเกิดผลาอานิสงส์นานับประการ และปรารถนาสิ่งใดล้วนแต่สมประสงค์

วัดแห่งนี้มีความสำคัญ ด้วยในอดีตเป็นวัดที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ปราชญ์พระพุทธศาสนาเมืองไทย ประทานชื่อ นามว่า วัดปลดสัตว์ อันเป็นการปลดปล่อยชีวิตสัตว์ เป็นมหาบุญ เปรียบเสมือนว่าได้ชีวิตใหม่ ปลดทุกข์ ปลดโศก ปลดโรค ปลดภัย ล่วงเลยมาจนถึงกาลปัจจุบัน




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


หมู่บ้านทำกลอง
งอยู่ที่ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านที่นี่เขาริเริ่มผลิตกลองกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว เขาจะใช้ไม้ฉำฉามาทำกลองเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายและอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญ คือ หนังวัว ที่ต้องเตรียมไว้สำหรับขึงทำหน้ากลองนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ สามารถชมกรรมวิธีการทำกลอง ตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้เรื่อยๆไปจนถึงขั้นต...
ไร่นาสวนผสม สมจิต เริงโพธิ์
ไร่นาสวนผสม สมจิต เริงโพธิ์ ได้รับรางวัลแปลงไร่นาสวนผสมและผู้หญิงเกษตร สาขาเกษตรระดับชาติประจำปี 2544 คุณสมจิตทำไร่นาสวนผสมหลายอย่างบนพื้นที่ประมาณ 13 ไร่ นา 10 ไร่ ตั้งอยู่ที่ 16 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เน้นการผลิตมะม่วงทะวาย เช่น พันธุ์เศรษฐี ทะวาย โชคอนันต์ น้ำดอกไม้มัน ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ทำให้มีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนคุณสมจิตเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการทำ...
สปา - กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าโมกพัฒนา
จากเดิมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้รวมกลุ่มกันทำผลิตภัณฑ์ เต้าเจี้ยว กล้วยตาก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องแยกย้ายกันไป ซึ่งเสงี่ยม ไม้แป้น หนึ่ง ประธานกลุ่มแม่บ้านฯ ที่อาชีพเดิมคลุกคลีในแวดวงเกษตรกรรมมาเกือบทั้งชีวิต หลังจากแนวคิดที่เธอจะทำสมุนไพรขายได้ผุดขึ้นมาในสมอง การรวมกลุ่มแม่บ้านฯ จึงหวนกลับมาอีกครั้ง และบทสรุปของอาชีพที่ลงตัวของพวกเธอในตอนนี้คือ "ทำสมุนไพรแปรรูป แบบครบวงจร"บ้านสวนสมุนไพร ครบวงจร ของกลุ่...
หมู่บ้านหมอลำ
เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ที่ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง เป็นชุมชนที่ก่อตั้งมาประมาณ 200 ปี ประชากรมีเชื้อสายภูไท เป็นหมู่บ้านที่มีคณะหมอลำมากที่สุดในประเทศไทย
วัดสระแก้ว
ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครด้านทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร ห่างจากพระนครศรีอยุธยาด้านทิศเหนือ 15 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอ่างทองด้านทิศเหนือ 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่ดินตั้งวัดทั้งสิ้น 33 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา ปัจจุบันมีผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ดินที่จัดผลประโยชน์โดยมูลนิธิสระแก้วมูลนิธิ วัดสระแก้ว เดิมช...
วัดป่าโมกวรวิหาร
ภายในวัดมีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ พงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชา ได้เสด็จมาชุมนุมพล และถว...
วัดพินิจธรรมสาร
วัดพินิจธรรมสาร ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2259 เดิมนามว่า “วัดชีปะชาว” เมื่อ พ.ศ.2269 ตรงกับสมัยอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระท้าย พระองค์โปรดให้พระยาราชสงครามดำเนินการชักชะลอพระพุทธไสยาสน์เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดป่าโมก ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในการนี้ได้จัดสร้างพระตำหนักพลับพลาชัยขึ้น ณ ที่ใกล้วัดชีปะขาว สำหรับเป็นที่ประทับกะวางแผนงาน สั่งงานและตรวจตราการปฏิบัติงานและผลของการปฏิบัติงาน โดยที่พระเจ้าท้ายสระพร้อม...
วัดโพธิ์หอม (วัดป่าหัวพัน)
วัดโพธิ์หอม เดิมเป็นวัดร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดโพธิ์หอม หรือ วัดป่าหัวพัน มีสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือ ปูนปั้นรูปบุคคล 4 หน้า ซึ่งเรียกว่า “รูปพรหมสี่หน้า หรือ พรหมพักตร์” มีขนาดค่อนข้างใหญ่ 2 เศียร ตั้งประดับประดาอยู่บนพานปูนปั้นหน้าศาลาซึ่งสร้างบนฐานของพระอุโบสถเดิม สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นส่วนยอดของประตูวัดหรืออุโบสถ หากว่ารูปปูนปั้นซึ่งมีจำนวน 2 ชิ้นนี้เป็นศิลปวัตถุของวัดนี้มาแต่เดิม เป็นเรื่องที่น่...

โรงแรมใกล้เคียง