ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอเมืองอ่างทอง > วัดอ่างทองวรวิหาร



วัดอ่างทองวรวิหาร

1 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง อ่างทอง 14000 เมืองอ่างทอง อ่างทอง 14000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดอ่างทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด เดิมเป็นวัดเล็กๆ 2 วัด ชื่อ วัดโพธิ์เงิน และวัดโพธิ์ทอง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้รวมวัดสองวัดเป็นวัดเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2443 และพระราชทานนามว่า วัดอ่างทอง วัดนี้มีพระอุโบสถที่งดงาม มีพระเจดีย์ทรงระฆังประดับด้วยกระจกสีและหมู่กุฏิทรงไทยสร้างด้วยไม้สักงดงามเป็นระเบียบซึ่งล้วนเป็นสถาปัตยกรรมตามแบบศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พระอุโบสถวัดอ่างทองวรวิหาร ก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นับตั้งแต่พระครูวิเศษชยสิทธิ์ได้มาปกครองวัดนี้ ได้เริ่มทำการปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ เช่น ทำกำแพงแก้วพระอุโบสถ ตลอดจนการปูกระเบื้องซีเมนต์พื้นของกำแพงแก้ว และได้ทำการก่อสร้างพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปต่าง อีกด้วย

พระประธานในพระอุโบสถสร้างด้วยก่ออิฐถือปูน เป็นพระปางมารวิชัย เป็นพระประธานคู่กับวัดมาแต่เดิม ลักษณะไม่งามและไม่ถูกสัดส่วน ในขณะนั้นได้เริ่มชำรุดและเอนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือใกล้จะโค่นอยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีใครคิดปฏิสังขรณ์หรือแก้ไขให้คืนดังเดิม ด้วยเห็นว่าเป็นพระที่ปั้นด้วยปูน หากจะไปขยับเขยื้อนเข้าก็เกรงว่าเป็นการซ้ำเติมให้พังเร็วลงอีก ซึ่งดูจะเป็นบาปแก่ผู้กระทำ จึงปล่อยให้เอนอยู่อย่างนั้น ต่างพากันคาดคะเนว่า ในชั่วเวลาอีกไม่เกินหนึ่งปีก็จะโค่นลงมาเอง จึงได้ร่วมใจกันหล่อพระประธานขึ้นใหม่ด้วยโลหะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 1.42 เมตร สูง 2.00 เมตร การที่ทำให้องค์พระขนาดเท่านี้ ก็โดยผู้เชี่ยวชาญคำนวณว่าพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยเมื่อครั้งทรงพระชนม์ชีพอยู่มีขนาดเท่านั้น และหวังว่าถ้าพระองค์เดิมพังแล้ว ก็จะนำองค์ที่หล่อขึ้นใหม่ประดิษฐานแทน

การหล่อพระประธานองค์นี้ ครั้งแรกปรากฏว่าตอนพระเศียรไม่ติด ต่างพากันเข้าใจว่าเป็นความบกพร่องของนายช่าง ซึ่งนายช่างก็ยืนยันว่า การหล่อพระพุทธรูปทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยมีความมั่นใจเท่าครั้งนี้ เพราะได้มีผู้ใหญ่มาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก การกระทำทุกอย่างเป็นไปด้วยความรอบคอบ แต่ที่มาเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด แต่ไม่วายประชาชนก็โทษนายช่างอยู่นั่นเอง เมื่อการหล่อครั้งแรกไม่สำเร็จ จึงได้กระทำพิธีหล่อขึ้นใหม่ ในการหล่อครั้งหลังนี้ นายช่างได้กระทำพิธีสักการะบูชา และบอกเล่าพระประธานองค์เดิม จึงปรากฏว่าการหล่อครั้งหลังนี้สำเร็จลง แม้จะไม่เรียบร้อย ก็พอจะตบแต่งได้ จึงส่งเอาลงไปขัดที่บ้านช่างหล่อธนบุรี เมื่อขัดแล้วเสร็จ ก็ได้นำเข้าไปไว้ในพระอุโบสถ เพื่อรอโอกาสให้องค์เดิมพังก็จะได้นำองค์ใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน ต่อมาอีกไม่นานนักพระประธานองค์ที่คาดกันว่าจะโค่นพังลงมานั้นแทนที่จะโค่นลงตามความคาดหวัง กลับตั้งตรงขึ้นได้อีก เมื่อเหตุการณ์กลับมาเป็นเช่นนี้ จึงชวนให้สงสัย คงจะมีใครไปจัดการแก้ไขให้กลับคืนมาเป็นแน่ แต่เมื่อได้ตรวจดูกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็ไม่มีรอยปรากฏที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครเข้าไปแตะต้องเลย ในขณะที่เอนอยู่เดิมนั้นเพราะแท่นได้ชำรุดลงไปแถบหนึ่ง และแถบนั้นก็น่าจะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ส่วนอีกแถบหนึ่ง การรับน้ำหนักก็มีแต่จะน้อยลง แต่แถบดังกล่าวนี้กลับทรุดลงไปเสมอกันอีก จึงทำให้องค์พระประธานตั้งตรงได้ดิ่งกับฉัตรที่เหนือพระเศียรพอดี

เหตุการณ์ที่กลับมาเป็นเช่นนี้ ทำให้เกิดความงุนงงแก่ผู้พบเห็นเป็นอันมาก ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า ท่านแสดงอภินิหารให้ปรากฏ และท่านคงจะไม่ยอมออกไปจากที่นั้น ประชาชนจึงพามีความเลื่อมใสยิ่งขึ้น และได้ทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีก โดยทำแท่นให้แข็งแรงและลงรักปิดทองกันจนเป็นที่เรียบร้อย สำหรับองค์ที่หล่อขึ้นใหม่นั้นก็ได้นำขึ้นประดิษฐานไว้ตอนหน้าพระองค์เดิม




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองจังหวัดอ่างทอง อยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด เป็นอาคารจัตุรมุข (4 หน้า) ยอดปรางค์หลังคาเป็นปูนซีเมนต์ฉาบสีแดง ตัวศาลสูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร ภายในศาลเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแยกสวยงามมาก ศาลหลักเมืองจังหวัดอ่างทอง เป็นศาลหลักเมืองแห่งที่ 2 ที่มีการเขียนภาพ จิตรกรรมฝาผนังทั้ง 4 ด้านเสาหลักเมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลหลักเมืองบนแท่นแปดเหลี่ยม พื้นปูด้วยหินอ่อนทำจากไม้ชัยพฤกษ์ซึ่งถือเ...
วัดต้นสน
วัดต้นสน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2485 อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับวิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่โบราณนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. 2310 วัดนี้ตามสันนิษฐานสร้างเมื่อตอนปลาย สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะอุโบสถหลังเก่ามี บัวอ่อน คันทวย แต่ไม่มีจดหมายเหตุบันทึกไว้เป็นหลักฐาน แต่ผู้เฒ่าแก่เล่ากันต่อๆมา และได้ทรุดโทรมมาจนเกือบจะกลายสภาพเป็นวัดร้าง ...
วัดมธุรสติยาราม
เดิมชื่อวัดกุฏิ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประคำทองซึ่งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาเก่ามาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีหลักฐานสำคัญหลงเหลือให้เห็น คือ กำแพงแก้ว พระอุโบสถเจดีย์และวิหารที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณกำแพงแก้วเดียวกัน โดยวางจัดกลุ่มได้เหมาะสม มีรูปทรงที่งดงาม เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายชัดเจน พระอุโบสถเจดีย์ลักษณะอาคารเป็นรูปโค้งสำเภาก่ออิฐถือปูน กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร หลัง...
วัดจันทรังษี
ใครที่ผ่านไปผ่านมาแถวจังหวัดอ่างทอง แล้วต้องการจะไหว้ขอพร "ให้สุขภาพแข็งแรง ชีวิตร่างกายสดใสสดชื่น" แนะนำให้แวะไปสักการะหลวงพ่อสด นอกจากนี้เฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ทางวัดมีอาหารเจไว้สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ฟรี ที่ศาลาวิรัชกาญจนาสัคคโสปาณวัดจันทรังษี มีพื้นที่สองฝั่งถนน ฝั่งทิศตะวันออกมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อโยก” และฝั่งตะวันตกของถนนเป็นที่ตั้งของพระมหาวิหารจัตุรมุขพระมงคลเทพมุนี...

โรงแรมใกล้เคียง