ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา > วัดใหญ่ชัยมงคล



วัดใหญ่ชัยมงคล

40/3 หมู่ที่ 3 ตำบล คลองสวนพลู อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เมืองพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไท ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก

ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้ จึงมีการตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเจ้าพระยาไท” สันนิษฐานว่ามาจากที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้น ณ บริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทหรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้าไท” ฉะนั้นเจ้าพระยาไทจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราช



วัดใหญ่ชัยมงคลยังมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย กล่าวคือ ในปีพ.ศ. 2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” ทว่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองถูกกองทัพพม่าเผาทำลาย วัดใหญ่ชัยมงคลจึงถูกทิ้งร้างไปในที่สุด ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์และมีภิกษุสงฆ์จำพรรษาดังเช่นในปัจจุบัน



สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา พระมหาอุปราชของหงสาวดี และวิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก



วัดใหญ่ชัยมงคล เปิดเวลา 08.00 – 17.00 น. ทุกวัน ค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 03-524-2640 หรือทางเว็บไซต์ http://www.watyaichaimongkol.net



การเดินทางมายังวัดใหญ่ชัยมงคล จากกรุงเทพฯเข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ

แผนที่เดินทางไปวัดใหญ่ชัยมงคล :




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร 
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาทางด้านศิลปหัตถกรรมของไทย โดยมุ่งเน้นการฝึกอาชีพให้แก่เกษตรกร เพื่อเป็นรายได้พิเศษจากช่วงที่ว่างจากงานเกษตรกรรม ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรนี้ริเริ่มจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทร...
วัดภูเขาทอง
วัดภูเขาทองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ตามหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเป็นผู้สร้างพระเจดีย์แบบภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้ในคราวที่ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เพื่อระลึกเมื่อคราวที่รบชนะไทย อย่างไรก็ตามสันนิษฐานว่าผู้สร้างได้ก่อขึ้นเพียงรากฐานก่อนจะยกทัพกลับ เมื่อสมเด็จพระเนรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาเมื่อปีพุทธศักราช 2127 จึงโปรดเกล้าฯใ...
ปางช้างอยุธยา แล เพนียด
ายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยววังช้างอยุธยา แล เพนียด เดิมชื่อว่า ปางช้างอยุธยา แล เพนียด ตั้งอยู่ที่ริมถนนป่าโทน ไม่ไกลจากคุ้มขุนแผน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คำว่า แล หมายถึง แลมอง แลเห็น แลดู เป็นคำโบราณ ส่วนคำว่าเพนียด หมายถึง โบราณสถานเป...
พระที่นั่งเพนียด
พระที่นั่งเพนียด ตั้งอยู่ในตำบลสวนพริก การเดินทาง ขับรถออกจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางหมายเลข 347 กิโลเมตรที่ 42–43 เส้นทางเดียวกับทางไปวัดภูเขาทอง แต่ให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปตามถนนจะมีป้ายบอกเส้นทางไปพระที่นั่งเพนียด เพนียดแห่งนี้มีขนาดใหญ่มากสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จฯ มาประทับทอดพระเนตรการคล้องช้างหรือจับช้างเถื่อนในเพนียดซึ่งเป็นประเพณีที่ทำกันมาแต่โบราณเพื่อนำช้างมาใช้ประ...
วัดไชยวัฒนาราม
ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2173 ได้ชื่อว่าเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่ง ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ่งที่น่าชมภายในวัดไ...
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนทางหลวง 3469 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่บริเวณนอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เดิมวัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดกษัตรา” หรือ “วัดกษัตราราม” เป็นพระอารามหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏประวัติหลักฐานการสร้าง มีปรากฏเพียงในพงศาวดาร ว่าครั้งรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยา ก่อนเสียกรุงฯ ครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2303 ...
สวนวาสนาเมล่อน
สวนวาสนาเมล่อน ตั้งอยู่ที่ตำบลละโสม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบรรยากาศร่มรื่นบนพื้นที่ 30 ไร่ ผลิตและจำหน่ายแตงเมล่อน แคนตาลูป แตงไต้หวัน 8 สายพันธุ์ อาทิ พันธุ์ไซตามะ ฮานาบิ กรีนเนท ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นผลผลิตสายพันธุ์ดี ได้รับการคัดสรรโดยผู้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร จึงรับรองได้ว่าผลผลิตที่นี่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ รสชาติหวานอร่อย ผลผลิตออกตลอดทั้งปี สามารถเลือกซื้อผลผลิตสดใหม่ได้...
วิหารพระมงคลบพิตร
วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นที่ประดิษฐานพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตรและสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่าง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันแ...

โรงแรมใกล้เคียง