ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอุดรธานี > อำเภอเมืองอุดรธานี > วัดโพธิสมภรณ์



วัดโพธิสมภรณ์

เลขที่ 22 ตำบลหมากแข้ง เมืองอุดรธานี อุดรธานี 41000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่บนถนนเพาะนิยม เลขที่ 22 ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี อยู่ทางทิศตะวันตกของหนองประจักษ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 40 ไร่ ปัจจุบันมี พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) เป็นเจ้าอาวาส ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ วัดโพธิสมภรณ์ เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
วัดโพธิสมภรณ์ เริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2449 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดย มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้พิจารณาเห็นว่าในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี มีเพียง “วัดมัชฌิมาวาส” วัดเดียวเท่านั้น สมควรที่จะสร้างวัดขึ้นอีกสักวัดหนึ่ง จึงได้ไปสำรวจดูสถานที่ทางด้านทิศใต้ของ “หนองนาเกลือ” ซึ่งเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่อุดมไปด้วยเกลือสินเธาว์ มีปลาและจระเข้ชุกชุม (ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี) เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมควรแก่การสร้างวัดได้เพราะเป็นที่ราบป่าละเมาะเงียบสงบดี ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนักและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่อตกลงใจเลือกสถานที่ได้แล้ว มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ก็ได้ชักชวนและนำพาราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งมาร่วมกันถากถางป่าจนพอควรแก่การปลูกกุฏิ ศาลาโรงธรรม สำหรับใช้เป็นที่บำเพ็ญบุญ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปีของหน่วยราชการ ใช้เวลาสร้างอยู่ประมาณ 1 ปี ในระยะแรกชาวบ้านเรียกว่า “วัดใหม่” เพราะแต่เดิมมีเพียงวัดมัชฌิมาวาสซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “วัดเก่า” ด้วยพบร่องรอยเป็นวัดร้างมาก่อน มีเจดีย์ศิลาแลงเก่าแก่และพระพุทธรูปหินขาวปางนาคปรก และได้กราบอาราธนา พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) เจ้าคณะเมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาสมาเป็นเจ้าอาวาสวัด
ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด
1. พระพุทธรูปทองสำริด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย(หลวงพ่อพระพุทธรัศมี) หน้าตักกว้าง 1.55 เมตร สูง 2.30 เมตร อายุประมาณ 600 ปี สมัยสุโขทัย เป็นพระประธานในพระอุโบสถ และพระประธานองค์นี้ยังมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเศียรด้วย
2. พระพุทธรูปศิลาแลง เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร สูง 95 เซนติเมตร กว้าง 24 เซนติเมตร สมัยลพบุรี อายุประมาณ 1,300 ปีประดิษฐานอยู่หลังพระอุโบสถพระพุทธรูปองค์นี้ชาวเมืองอุดรให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก มักจะมีคนมากราบไหว้ขอพรอยู่เสมอ จนมีอีกชื่อหนึ่งว่า “พระขอ” ซึ่งหมายถึงหากเราขออะไรก็จะได้อย่างนั้นนั่นเอง
3. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพธิ์ที่รัฐบาลประเทศศรีลังกา มอบให้รัฐบาลไทย ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้นำมาปลูกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2494
4. รอยพระพุทธบาทจำลอง ทำด้วยศิลาแลง อายุประมาณ 100 ปีเศษ
5. ตู้พระไตรปิฎกลายทองลดน้ำ สร้างในพระนามเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2472
6. พระบรมธาตูธรรมเจดีย์




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี
จัดตั้งขึ้นในอาคารราชินูทิศ ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น รูปทรงแบบตะวันตก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดขึ้นโดยการนำของ นายชัยพร รัตนนาคะ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ที่ได้รวมพลังประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานีจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองขึ้น โดยใช้เวลาในการดำเนินการเพียง 111 วัน เปิดให้เข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนาจังหวัดอุดรธานี ครบรอบ 111 ปีพิพิธภัณฑ์เมืองแ...
สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
จากตัวเมืองไปราว 2 กม. ตามถนนเลี่ยงเมืองใกล้แยกไปจังหวัดหนองคาย เลี้ยวเข้าทางแยกไปหนองสำโรงใกล้กับสนามกอลฟ์มีป้ายบอกบริเวณสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ ตั้งแต่เช้ามืดไปจนราวบ่ายโมงกลิ่นของกล้วยไม้จะหอมตลบอบอวล จนสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำหอมได้ มีกล้วยไม้ และน้ำหอม จำหน่าย ที่สวนและตามร้านสินค้าพื้นเมืองอุดรธานีคุณประดิษฐ์ คำเพิ่มพูล เจ้าของ และผู้คิดค้น มีโครงการค้นคว้าทางด้าน ธรรมชาติ และการเกษตรที่น่าสนใจอีกหลายโ...
อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม
ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดา สังวาลย์ ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช 2399 ทรง ดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ เรียกว่า มณฑลอุดรในสมัยต่อมา ระหว่าง ร.ศ . 112-118 ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดรขึ้นเมื่อ ร.ศ 112 ทรงจัดวางระเบียบราชการ ปกค...
วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก)
วัดทิพยรัฐนิมิตรหรือวัดบ้านจิก เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งอยู่ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนนเรศวรกับ ถนนทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง อุดรธานี บริเวณนี้คือ "คุ้มบ้านจิก" เมื่อท่านเดินทางเข้าประตูมาก็จะสังเกตุเห็นว่ายังมีรั้วอิฐเตี้ยๆ กั้นอยู่อีกชั้นหนึ่ง แบ่งวัดออกเป็นสองตอน ตอนนอกมีพื้นที่น้อยกว่าตอนในมาก ตอนนอกนี้เคยเป็นที่ตั้งของโบสถ์เก่า ซึ่งรื้อถอนออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2533ส่วนตอนในนั้นมีพื...
วัดป่าบ้านตาด
ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตรโดยมีศรัทธาญาติโยมชาวบ้านตาดถวาย พื้นที่ในกำแพงล้อมรอบประมาณ ๑๖๓ ไร่ และบริเวณรอบกำแพงที่มีผู้ซื้อที่ถวายอีกหลายแปลง ตลอดทั้งทางวัดซื้อที่เพิ่ม อีกประมาณ ๑๔๐ ไร่ รวมประมาณ ๓๐๐ ไร่ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม อันสงบเรียบง่าย ร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่นานาพันธุ์ เป็นสถานที่พึ่งพิงของสัตว์น้อยใหญ่...
อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง
อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง อยู่บนทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู ตรงกิโลเมตรที่ 15 แล้วแยกเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อการเกษตร และการประมง อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 20,000 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การประมง การจ่ายน้ำเพื่อการผลิตประปา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศที่สวยงาม เหมาะสำหรับการล่องแพ ตกปลา นั่งเรือชมทิวทัศ...
ศาลหลักเมือง อุดรธานี
อุดรธานี ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอื่นๆ อันเป็นที่เลื่อมใสบูชาเป็นอย่างสูงได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธโพธิ์ทอง และ ท้าวเวสสุวัณ ซึ่งมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ และความเป็นสิริมงคลในแต่ละด้านที่แตก ต่างกันไปตามประวัติกล่าวว่า ศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้นสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยได้อัญเชิญดวงพระวิญญาณของ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2436 มา...
หมู่บ้านนาข่า และศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น
หมู่บ้านนาข่า และ ศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวงหมายเลข 2)หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิดในราคาย่อมเยา เดินทางอย่างไรโดยรถประจำทางมีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้าสถาบันราชภัฎอุดรธานี และตลาดรังษิณา

โรงแรมใกล้เคียง


โรงแรม การิน คะแนน : 6.5   รีวิว : 52
โรงแรม อุดรธานี, ประเทศไทย
เชิญเข้าพักที่ โรงแรม การิน เพื่อสำรวจความน่าตื่นตาตื่นใจของ อุดรธานี ไม่ว่าจะเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจหรือท่องเที่ยววันหยุดก็สามารถเพลิดเพลินไปกับการบริการและสิ่งอำนวยสะดวกของโรงแรมแห่งนี้ได้เช่นกัน เชิญใช้บริการ คอฟฟี่ช็อป แผนกต้...
           
ฌัฐพร เฮาส์ คะแนน : 7.2   รีวิว : 2
โรงแรม อุดรธานี, ประเทศไทย
ฌัฐพร เฮาส์ ตั้งอยู่ในย่าน อำเภอเมือง ที่มีชื่อเสียงและเดินทางเข้าถึงได้สะดวก โรงแรมแห่งนี้นำเสนอการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมาตรฐานดีเยี่ยมเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของนักเดินทางทุกประเภท ทางที่พักได้เตรียมสิ่งอำนวยคว...
           
เรนโบว์ รีสอร์ท คะแนน : 6.5   รีวิว : 7
  โรงแรม อุดรธานี, ประเทศไทย
เรนโบว์ รีสอร์ท อยู่ในทำเลที่เหมาะสำหรับนักเดินทางทั้งเพื่อธุรกิจและพักผ่อนหย่อนใจใน อุดรธานี โรงแรมแห่งนี้มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกหลากหลาย พร้อมให้คุณได้สัมผัสช่วงเวลาแสนวิเศษตลอดการเข้าพัก ร้านค้า บริการรถรับ-ส่งถึงสนามบิน พนั...
           
7 คัลเลอร์ เฮาส์ คะแนน : 7.3   รีวิว : 10
โรงแรม อุดรธานี, ประเทศไทย
7 คัลเลอร์ เฮาส์ ที่พักระดับ 3 ดาวแห่งนี้ พร้อมมอบความสะดวกสบายให้คุณไม่ว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจใน อุดรธานี โรงแรมแห่งนี้นำเสนอการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมาตรฐานดีเยี่ยมเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของนัก...