ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวมหาสารคาม > อำเภอเมืองมหาสารคาม > อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย



อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย

บ้านโขงกุดหวาย หมู่ที่ 7 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม 44000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

อุทยานมัจฉา ตั้งอยู่บ้านโขงกุดหวาย หมู่ที่ 7 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม หางจากเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม 6 กิโลเมตร ตามเส้นทางมหาสารคาม มุกดาหารบริเวณอุทยานตั้งอยู่ในกุดหวาย คาว่ากุด หมายถึงทางน้ำทีแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินเป็นเวลานาน บริเวณกุดหวายทีว่านี้ เดิมต้นหวายเกิดล้อมรอบ สวนตรงเนินกลางกุดมีหญ้าคา หญ้าแฝกงอกงามมากตรงบริเวณหัวคุ้งน้ำ พระครูพิทักษ์โกสุมพิสัย (ญาครูโม่ง) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีได้ไปตั้งสำนักสงฆ์เพื่อเป็นสวนหญ้า สำหรับเกี่ยวมามุงศาสนสถานในสมัยโบราณ ปัจจุบันบริเวณนี้ชาวบ้านได้ตั้งเป็นวัดชื่อ พิทักษ์สามัคคีโพธิ์ศรี 2

เมื่อพุทธศักราช 2537 ศูนย์บริการเกษตรกรรมเคลื่อนที่และกรมชลประทาน ได้ขุดลอกเป็นคุ้งน้ำตามแนวเดิมทีกว้างที่สุดประมาณ 120 เมตร ลึกจากผิวดิน 10 เมตร โค้งเป็นรูปเกือกมายาวประมาณ 800 เมตร มีความจุน้ำประมาณ 96,000 ลูกบาศก์เมตร ด้านทิศตะวันตกมีทางน้ำธรรมชาติ ไหลล้นลงลำน้ำรอบกุดด้านทิศเหนือมีหมู่บ้านโขงกุดหวายตั้งอยู่ ประชากรเป็นคนไทยลาวและไทยโคราช

พุทธศักราช 2537 ประมาณเดือนตุลาคมเกิดน้ำหลากท่วมสองฝังลำน้ำชีทะลักเข้าโขงกุดหวาย และไหลลงแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงตามลำดับ ฝูงปลาเผาะ เป็นตระกูลปลาสวายชาวอีสานบางส่วนเรียกว่าปลาซวย ปลาวังก็มี สำหรับปลาเผาะนี้อาศัยอยู่ตามแม่น้ำโขง และปากแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง เช่น ปากแม่น้ำมูล ได้รวมกันเป็นฝูงว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นมา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน อาจเป็นเพราะว่าแก่งตะนะ ซึ่งเป็นแก่งและซอกหินที่เคยอาศัย ถูกระเบิดเพื่อสร้างเขื่อนปากมูล ปลาเหล่านี้ไม่มีที่อาศัยจึงแตกตื่นทวนกระแสน้ำขึ้นมารวมกับปลาเลี้ยงทีน้ำท่วมบ่อ เช่น ปลาตะเพียน ยี่สก นิล ไน ได้มารวมกันอยู่ ในโขงกุดหวายจำนวนมาก โดยเฉพาะปลาเผาไม่มากกว่าชนิดอื่น และเป็นปลาขนาดใหญ่ปัจจุบันลำตัวยาวประมาณ 2 ศอก ชอบว่ายเหนือน้ำตามกินอาหารจากคนไปเทียวชม

เมื่อรวมปลาชนิดต่าง ๆ แล้วมีประมาณหลายแสนตัว ชาวบ้านถือเป็นโอกาสดี จึงร่วมกันปิดกั้นทางน้ำมิให้ไหลลงลำน้ำชี ต่อมาทางราชการได้เสริมคันดินให้แข็งแรงโดยมีความยาว 30 เมตร สันคันดินกว้าง 8 เมตร และร่วมกันตั้งชื่อว่า อุทยานมัจฉา การดำเนินงานในอุทยานใช้วัฒนธรรมนำการพัฒนา ทุกคนในหมู่บ้านร่วมมือกันโดยมีวัดในพุทธศาสนาเป็น ศูนย์กลาง

ภายในวัดก็จะมีสัตว์ที่ชาวบ้านนำมาวัดช่วยเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็น จระเข้ สุนัขจิ้งจอก ลิง เยี่ยว กระต่าย นก และหนูตะเพา ฯลฯ และยังมี พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน อีกด้วย และได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ปลาหน้าวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50ปี ห้ามจับสัตว์น้ำ หรือทำการประมงในที่รักษาพืชพันธ์ ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภายในอุทยานแห่งนี้ มีร้านจำหน่ายอาหารปลา มีสะพานไม้ ขนาดกว้าง 1 เมตร 60 เซนติเมตร ยาว 83 เมตร ข้ามคุ้งน้ำไปบริเวณวัด และใช้เป็นสถานที่ให้อาหารปลาและชมปลาได้ด้วย มีซุ้มริมฝั่งน้ำ 4 ซุ้ม แพลอยน้ำขนาด 3 x 5.50 เมตร จำนวน 10 แพ ให้นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารและชมปลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทีมีประชาชนไปเที่ยวจำนวนมาก ทุกวัน




   เว็บไซต์ :
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://thai.tourismthailand.org/


ที่เที่ยวใกล้เคียง


พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือวัดมหาชัย
ตั้งอยู่ในวัดมหาชัย (พระอารามหลวง) เลขที่ 205 ถนนมหาชัยดำริห์ ตำบลตลาด เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของภาคอีสาน เช่น ใบเสมาหิน พระพุทธรูปในสมัยโบราณ ใบลานหนังสือธรรมะ หม้อ ไห เป็นจำนวนมาก รวมทั้งบานประตู คันทวยแกะสลัก เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม แต่ควรติดต่อพระครูปลัดอุทัย อุทโย ล่วงหน้าก่อนเข้าชม 7 วัน สอบถาม โทร. 0 4372 5786
พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน
ตั้งอยู่ที่บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา เป็นแหล่งรวบรวมของสะสมของอาจารย์บุญหมั่น คำสะอาด ซึ่งคุณสันติภาพ คำสะอาด บุตรชายได้สืบทอดเจตนารมย์โดยการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชั้นล่าง แสดงงานศิลปะ “Boonman Contemporary Art Gallery” ผลงานของอาจารย์บุญหมั่น และศิลปินทั่วไปที่หมุนเวียนกันแสดงชั้นบนแนะนำสถานที่น่าสนใจในเส้นทางสายไหมอีสานและประวัติศาสตร์หมู่บ้านเชียงเหียนและประวัติของชุมชน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 ...
คุ้มบุญตามทัน พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญา
คุ้มบุญตามทัน พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญา ตั้งอยู่ที่ศูนย์ประชุมแก่งเลิงจาน หมู่ที่ 17 ตำบลแก่งเลิงจาน เป็นแหล่งรวบรวมของเก่า ของแปลก ภาพถ่าย วัตถุมงคล ซึ่งนายสุรศักดิ์และนางจุรีรัตน์ (เรือนทอง) จันทรจำนง สะสมไว้เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ภายในแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จัดแสดงเครื่องทองเหลือง เครื่องแก้ว เครื่องลายครามและจัดแสดงของโบราณ อายุตั้งแต่ 30-100 ปี ส่วนที่ 2 จัดแสดงเรื่อ...
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ศาลหลักเมืองมหาสารคาม อยู่ติดถนนนครสวรรค์ หน้าโรงเรียนหลักเมือง ตั้งขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ.2408 เมื่อท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรกได้รวบรวมไพล่พลจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองใหม่ ได้สร้างศาลหลักเมืองและอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองมาประทับ เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากและ เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดมหาสารคามมาอย่างยาวนานจึงอาจกล่าได้ว่าชาวบ้านมหาสารคามให้ความเคา...
กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา)
ตั้งอยู่ที่บ้านเขวา ตำบลเขวา เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 18 สร้างขึ้นเพื่อเป็นอโรคยาศาล ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมแบบบายน ทำด้วยศิลาแลงเป็นรูปกระโจมสี่เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงยอด 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก ภายในปราสาท มีเทวรูปทำด้วยดินเผา 2 องค์ นั่งขัดสมาธิ ประนมมือ ถือสังข์ มีกำแพงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบ โคปุระ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีบรรณาลัย 1 หลัง มีซุ้มประตูอยู่กึ่งกลางกำแพงแก้ว ด้าน...
สวนสาธารณะหนองข่า
ถนนถีนานนท์ บนเส้นทางสายมหาสารคาม-กาฬสินธุ์ ตำบลตลาดเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจรอบริมน้ำ มีเกาะกลางน้ำ 2 เกาะ สะพานเดินข้ามไปยังศาลากลางน้ำ บรรยากาศร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ที่ตกแต่งอย่างลงตัวภายในมีอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามชั้น 1 จัดแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองมหาสารคาม ปราสาทอโรคยาศาล สมัยพุทธศตวรรษที่ 17 เช่น กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง ซึ่งประดิษฐานพระไภษัชยคุรุไวฑูรประภา พระผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรค นอกจ...
หมู่บ้านปั้นหม้อ
หมู่บ้านปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงสาย 208 มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด ออกจากตัวเมืองมหาสารคามไปทางทิศตะวันออกประมาณกิโลเมตรเศษๆ เลี้ยวซ้ายมือจะเป็นหมู่บ้านที่มีหนองน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เมื่อเสร็จภารกิจจากการทำนา ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจะลงไปขุดเอาดินเหนียวที่อยู่ใต้น้ำบริเวณหนองน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน บรรทุกเรือขึ้นฝั่งกลับบ้านดินเหนียวดังกล่าวนี้จะถูกนำไปเก็บไว้ใต้ถุน...
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ตั้งอยู่ข้างสนามฟุตบอลภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แบ่งห้องจัดแสดงเป็นสัดส่วน นำเสนอความเป็นมา ด้านวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของชาวอีสาน เครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยโบราณ เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดค้นพบ ตลอดจนตู้พระธรรม คัมภีร์ใบลานซึ่งหาชมได้ยาก ควรติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม ในวัน เวลาราชการโทร. 0 4372 1839

โรงแรมใกล้เคียง


ฝ้ายคำ รีสอร์ท คะแนน : 5.9   รีวิว : 14
โรงแรม มหาสารคาม, ประเทศไทย
ในย่านท่องเที่ยวยอดนิยมอย่าง โกสุมพิสัย ฝ้ายคำ รีสอร์ท เป็นอีกหนึ่งโรงแรมที่รับรองว่าจะทำให้การเข้าพักของคุณเป็นช่วงเวลาแสนสุขอันผ่อนคลาย ที่พักนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่จะทำให้การเข้าพักของคุณเป็นประสบการณ์ที่น่าอภิรมย์ พน...
           
โรงแรมนิวพัฒนา คะแนน : 0   รีวิว : 0
โรงแรม มหาสารคาม, ประเทศไทย
โรงแรมนิวพัฒนา ที่พักระดับ 3 ดาวแห่งนี้ พร้อมมอบความสะดวกสบายให้คุณไม่ว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจใน มหาสารคาม โรงแรมแห่งนี้นำเสนอการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมาตรฐานดีเยี่ยมเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของนักเ...
           
โรงแรมเออีซี ฮิพ เฮริเทจ มหาสารคาม คะแนน : 0   รีวิว : 0
โรงแรม มหาสารคาม, ประเทศไทย
โรงแรมเออีซี ฮิพ เฮริเทจ มหาสารคาม ตั้งอยู่ในย่าน ตัวเมืองมหาสารคาม ที่มีชื่อเสียงและเดินทางเข้าถึงได้สะดวก โรงแรมแห่งนี้นำเสนอการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมาตรฐานดีเยี่ยมเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของนักเดินทางทุกประเภท...
           
โรงแรมสยามธารา พาเลซ คะแนน : 8.4   รีวิว : 10
  โรงแรม มหาสารคาม, ประเทศไทย
โรงแรมสยามธารา พาเลซ ที่พักระดับ 3.5 ดาวแห่งนี้ พร้อมมอบความสะดวกสบายให้คุณไม่ว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจใน มหาสารคาม โรงแรมแห่งนี้เพียบพร้อมด้วยทุกสิ่งที่คุณต้องการสำหรับการเข้าพักที่สะดวกสบาย เพลิดเพลินไปกับ ที่จอดร...