ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > วัดปราสาท



วัดปราสาท

- ป่าโมก อ่างทอง -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดปราสาท ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก วัดปราสาท ตั้งอยู่เลขที่ 58 บ้านตะพุ่น หมู่ที่ 2 ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2250-2310) สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมชื่อวัดปราสาททอง ได้เปลี่ยนเป็นวัดปราสาท ภายในมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยเป็นประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ สูง 0.76 เมตร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 3 ด้าน

ตามประวัติความเป็นมา วัดปราสาทสร้าง ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2225 สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานได้จากใบเสมาและพระพุทธรูป พระประธาน ซึ่งเป็นของเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากคำบอกเล่าของผู้รู้บางท่านเล่าว่า วัดปราสาทเดิมเป็นที่ตั้งพลับพลาของกษัตริย์ เมื่อคราวยกทัพมาพักเพื่อต่อต้านข้าศึก วัดปราสาท เดิมชื่อวัดปราสาททอง สร้างขึ้นโดยพระเจ้าปราสาททอง เคยเสด็จมาพักแรม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ.2250 วัดปราสาทมีวิหารเก่า และปราสาทเป็นเอกลักษณ์ของวัด มีพลวงพ่อเฒ่าพูน หลวงพ่อเขียน หลวงพ่อโล่เป็นผู้สร้างมีขนาดสูง 41 ม. เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานรูปโค้งสำเภา ส่วนพระปรางค์ใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ 3-4 ฝีมือช่างท้องถิ่น สมัยกรุงศรีอยุธยาประสบอุทกภัยประปรางชำรุด และซ่อมบูรณะ ปี 2512 จนปัจจุบัน 300 กว่าปี เป็นปราสาทที่สวยงามประชาชนเคารพนับถือมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วนจิตรกรรมวัดปราสาท ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ยังคงอิทธิพลช่างอยุธยา ภาพเขียนหลังพระประธานเป็นสระใน หิมพานต์และสัตว์ประจำทิศ ส่วนผนังทั้งสองข้างเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนเหนือฐานบัวมีพุทธสาวกยืนถวายอัญชลีอยู่สองข้าง ท้ายวัดมีดงยางขนาดใหญ่อายุร่วมร้อยปี




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ
ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่ด้านหลังวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ ตำบลนี้เดิมชื่อบ้านวัดตาลต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านบางเสด็จเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2518 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณจึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็...
สปา - กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าโมกพัฒนา
จากเดิมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้รวมกลุ่มกันทำผลิตภัณฑ์ เต้าเจี้ยว กล้วยตาก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องแยกย้ายกันไป ซึ่งเสงี่ยม ไม้แป้น หนึ่ง ประธานกลุ่มแม่บ้านฯ ที่อาชีพเดิมคลุกคลีในแวดวงเกษตรกรรมมาเกือบทั้งชีวิต หลังจากแนวคิดที่เธอจะทำสมุนไพรขายได้ผุดขึ้นมาในสมอง การรวมกลุ่มแม่บ้านฯ จึงหวนกลับมาอีกครั้ง และบทสรุปของอาชีพที่ลงตัวของพวกเธอในตอนนี้คือ "ทำสมุนไพรแปรรูป แบบครบวงจร"บ้านสวนสมุนไพร ครบวงจร ของกลุ่...
วัดปลดสัตว์
วัดปลดสัตว์ เดิมมีนามว่า “วัดสะแก” ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ.2400 ได้เริ่มมีการบูรณะขึ้นโดยมี ขุนธรรมการ (ทองคำ) ได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์มีนามใหม่ว่า “วัดดำรงค์ธรรม” ครั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จตร...
วัดพินิจธรรมสาร
วัดพินิจธรรมสาร ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2259 เดิมนามว่า “วัดชีปะชาว” เมื่อ พ.ศ.2269 ตรงกับสมัยอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระท้าย พระองค์โปรดให้พระยาราชสงครามดำเนินการชักชะลอพระพุทธไสยาสน์เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดป่าโมก ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในการนี้ได้จัดสร้างพระตำหนักพลับพลาชัยขึ้น ณ ที่ใกล้วัดชีปะขาว สำหรับเป็นที่ประทับกะวางแผนงาน สั่งงานและตรวจตราการปฏิบัติงานและผลของการปฏิบัติงาน โดยที่พระเจ้าท้ายสระพร้อม...
หมู่บ้านทำกลอง
งอยู่ที่ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านที่นี่เขาริเริ่มผลิตกลองกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว เขาจะใช้ไม้ฉำฉามาทำกลองเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายและอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญ คือ หนังวัว ที่ต้องเตรียมไว้สำหรับขึงทำหน้ากลองนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ สามารถชมกรรมวิธีการทำกลอง ตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้เรื่อยๆไปจนถึงขั้นต...
ศูนย์เจียระไนพลอย
อยู่ในบริเวณเดียวกับแหล่งผลิตเครื่องจักสานที่บางเจ้าฉ่า เป็นศูนย์รวมการเจียระไนพลอยของหมู่บ้านและมีพลอยรูปแบบต่างๆ ที่สวยงามเป็นจำนวนมาก เปิดให้เข้าชมตลอดปีการเดินทางไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงคลองชลประทานยางมณี จากนั้นเลี้ยวขวาเลียบคลองไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาไปตามทางเข้าวัดยางทอง ศูนย์เจียระไนพลอยจะอยู่บริเวณหลังวัดยางทอง
วัดป่าโมกวรวิหาร
ภายในวัดมีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ พงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชา ได้เสด็จมาชุมนุมพล และถว...
วัดสุวรรณเสวริยาราม
ภายในกำแพงแก้วประกอบด้วย โบสถ์ เจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ พระพุทธไสยาสน์ยาวราว 10 เมตร ที่แปลกคือ ที่รอยพระบาทของพระพุทธไสยาสน์ทำเป็นริ้วลายพระบาทแบบเป็นรอยโค้งเว้า ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ที่ช่างท้องถิ่นไทยนำรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาผสม คือมีช่องเป็นซุ้มโค้งแบบฝรั่ง ที่วัดสุวรรณเสวริยารามยังมีอีกสิ่งที่น่าสนใจคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถทั้งสี่ด้าน เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 4-5 ซึ่งได้รับอิทธ...

โรงแรมใกล้เคียง