ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > หมู่บ้านจักสาน



หมู่บ้านจักสาน

- ป่าโมก อ่างทอง -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นของอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือน ที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษณ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอินทประมูล

ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องจักสานและเป็นการอนุรักษ์งานฝีมือประเภทนี้ไว้ งานจักสานของบ้านบางเจ้าฉ่านี้มีความละเอียดประณีตสวยงามสามารถพัฒนางานฝีมือตามความต้องการของตลาด ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่าจนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ

ลวดลายที่ใช้ในเครื่องจักสาน

1.ลายขัด คือลายที่ยก 1 ตอก ข่ม 1 ตอกสลับกันเรื่อยไป ใช้สานกระสอบ ตะกร้า กระบุง ไซ ข้อง เป็นต้น

2.ลายสองใช้สานกระชอน กระสอบ ฝาบ้านไม้ไผ่ ลายสองเป็นลายที่ประสมกับลายขัด ลายสามประดิษฐ์ แล้วประดิษฐ์เป็นลายที่มีชื่อว่า ลายลูกแก้ว ลายดีคว่ำ ลายดีหงาย ดาวล้อมเดือน ดาวกระจาย เป็นต้น

3.ลายตาหลิ่ว อาจจะเรียกต่างกันไปตามพื้นถิ่น เช่นลายตาชะลอม ลายชะหมู ใช้สานกระเป๋า ตะกร้า ลายตาหลิ่ว เป็นลายที่ดัดแปลงมาจากลายพื้นฐาน โดยเพิ่มตอกขัดทแยงเป็นลายดอกขิง ลายดอกจันทร์ ลายพิกุล ลายตาชะลอม ฯลฯ

ลายพัฒนา คือลายที่พัฒนามาจากลายพื้นฐาน มีดังนี้

1.ลายบ้า ใช้สานกระเป๋า ตะกร้า แจง กระชอน เป็นต้น

2.ลายดีด้าน ใช้สานจำพวกตะกร้า ข้อง

ลายประดิษฐ์ เป็นลายที่สานขึ้นตามความนึกคิดของตัวผู้สานเอง เช่น ลายขัดตาหมากรุก, ลายขัดตาแทยง, ลายขัดตอกคู่ เป็นต้น

คุณค่าและการใช้สอยในชีวิตประจำวัน

1.ในสังคมกสิกรรมหรือเกษตรกรรม เครื่องจักสานมีบทบาทที่สำคัญยิ่งเนื่องจากชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาของตนเองประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ขึ้น ตามความต้องการใช้งานเขาจะใช้อย่างรู้และเข้าใจในสิ่งนั้นๆ และเห็นคุณค่าของเครื่องใช้ เครื่องจักสานจากภูมิปัญญาของตน

2.ประโยชน์ของการใช้สอยสามารถโยงใยไปถึงคุณค่าแห่งจิตใจ ให้เกิดความรักและหวงแหนในคุณค่าของสิ่งที่ตนเองบรรจงสร้างขึ้น จากความรู้สึกนึกคิด จิตวิญญาณที่สร้างความงดงามในชิ้นงานแต่ละชิ้น ตั้งแต่การเหลา การเกลา จนนำมาสานรวมเป็นภาชนะของใช้ ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะใช้อย่างคุ้มค่าและทะนุถนอม

3.สะท้อนของความอุดมสมบูรณ์ และ ความสงบสุขในสังคม ท้องถิ่นเครื่องจักสานที่มีใช้ทั่วไปนั้น มีทั้งเครื่องจับสัตว์ ทำการเกษตร ของใช้ในครัวเรือน และสิ่งเบ็ดเตล็ด หรืออาจรวมไปถึงเครื่องจักสานที่ใช้ในพิธีกรรมบางอย่าง สิ่งเหล่านี้รับใช้คนในสังคมชนบทที่มีแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของพื้นถิ่นซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนในท้องถิ่นได้รับผลแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีการแบ่งปันการใช้สอย การพึ่งพาอาศัย สร้างสมคุณธรรม จริยธรรม กลายเป็นระบบคุณธรรม และเป็นที่มาของความสงบ

4.เครื่องจักสานจะแสดงคตินิยม ความเชื่อ เรื่องราวต่างๆ ของสังคม และยุคสมัยที่มีผลจากรูปแบบของประเพณีต่างๆ ก่อให้เกิดงานศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ชุมชน แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ อาชีพ




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ
ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่ด้านหลังวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ ตำบลนี้เดิมชื่อบ้านวัดตาลต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านบางเสด็จเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2518 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณจึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็...
วัดปราสาท
วัดปราสาท ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก วัดปราสาท ตั้งอยู่เลขที่ 58 บ้านตะพุ่น หมู่ที่ 2 ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2250-2310) สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมชื่อวัดปราสาททอง ได้เปลี่ยนเป็นวัดปราสาท ภายในมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยเป็นประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ สูง 0.76 เมตร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 3 ด้าน ตามประวัติความเป็นมา วัดปราสาทสร้าง ตั้งวัดเมื...
ค้างคาวแม่ไก่วัดจันทาราม
หลายๆคนอาจเคยได้ยินคำถามที่เคยใช้ทายกันในสมัยครั้งยังเยาว์วัยบ่อยว่า “อะไรเอ่ย นกมีหู หนูมีปีก” ซึ่งคำตอบคงเป็นอื่นใดไปไม่ได้นอกจากค้างคาว แม้จะเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าค้างคาวนั้นเป็ฯสัตว์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นเวลาออกหากินหรืออากัปกิริยาในการดำเนินชีวิตก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปัจจุบันอาจหาดูได้ยาก อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสกับบรรยากาศการใช้ชีวิตแบบถ่ายทอดสดของบรรดาค้างคาว หรือนกมีหูแล้...
สปา - กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าโมกพัฒนา
จากเดิมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้รวมกลุ่มกันทำผลิตภัณฑ์ เต้าเจี้ยว กล้วยตาก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องแยกย้ายกันไป ซึ่งเสงี่ยม ไม้แป้น หนึ่ง ประธานกลุ่มแม่บ้านฯ ที่อาชีพเดิมคลุกคลีในแวดวงเกษตรกรรมมาเกือบทั้งชีวิต หลังจากแนวคิดที่เธอจะทำสมุนไพรขายได้ผุดขึ้นมาในสมอง การรวมกลุ่มแม่บ้านฯ จึงหวนกลับมาอีกครั้ง และบทสรุปของอาชีพที่ลงตัวของพวกเธอในตอนนี้คือ "ทำสมุนไพรแปรรูป แบบครบวงจร"บ้านสวนสมุนไพร ครบวงจร ของกลุ่...
ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง
ตั้งอยู่ ถนนเลี่ยงเมือง ริเริ่มและดำเนินการโดยเทศบาลเมืองอ่างทอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองท้องถิ่น เทศบาลเมืองอ่างทองได้ทำการเปิดศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง (นายกมล จิตระวัง) มีวัตถุประสงค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวอ่างทอง และนักเรียน นักศึกษารวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ให้ข้อมูลความเป็นมาและเป็นไปขอ...
วัดสุวรรณเสวริยาราม
ภายในกำแพงแก้วประกอบด้วย โบสถ์ เจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ พระพุทธไสยาสน์ยาวราว 10 เมตร ที่แปลกคือ ที่รอยพระบาทของพระพุทธไสยาสน์ทำเป็นริ้วลายพระบาทแบบเป็นรอยโค้งเว้า ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ที่ช่างท้องถิ่นไทยนำรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาผสม คือมีช่องเป็นซุ้มโค้งแบบฝรั่ง ที่วัดสุวรรณเสวริยารามยังมีอีกสิ่งที่น่าสนใจคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถทั้งสี่ด้าน เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 4-5 ซึ่งได้รับอิทธ...
กลุ่มจักสานบ้านมหานาม
เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นแหล่งผลิตและหมุนเวียนของสภาพคล่องทางการเงินในท้องถิ่นซึ่งแม้อาจจะไม่มีหน่วยที่ใหญ่นักแต่ก็เป็นการสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนและช้าวบ้านในละแวกนั้นเป็นอย่างดี ถ้ามาถิ่นบ้านมหานามแล้วก็คงจะก้าวออกไปโดยที่ไม่ได้เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมชมกลุ่มจักสานบ้านมหานามแห่งนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของเหล่าบรรดาแม่บ้านเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มาเพื่อสร้างรายได้ให้กับค...
หมู่บ้านทำกลอง
งอยู่ที่ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านที่นี่เขาริเริ่มผลิตกลองกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว เขาจะใช้ไม้ฉำฉามาทำกลองเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายและอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญ คือ หนังวัว ที่ต้องเตรียมไว้สำหรับขึงทำหน้ากลองนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ สามารถชมกรรมวิธีการทำกลอง ตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้เรื่อยๆไปจนถึงขั้นต...

โรงแรมใกล้เคียง