ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว



อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว

- ป่าโมก อ่างทอง -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว ประดิษฐานอยู่ที่หน้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม (ติดกับวัดวิเศษชัยชาญ) หมู่ 2 ตำบลไผ่จำศีล ตามเส้นทางสายอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ ระหว่างกิโลเมตรที่ 26-27 เข้าไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร ซอยปู่ดอก-ปู่ทองแก้ว 16

เป็นอนุสรณ์สถานที่ชาววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้าง เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล ชาววิเศษชัยชาญ ปู่ดอกและปู่ทองแก้ว ทั้งสองท่านยอมสละชีวิตอย่างกล้าหาญเพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในการสู้รบกับพม่าที่ค่ายบางระจันก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2309

อนุสาวรีย์แห่งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. 2520

ประวัติความเป็นมา

นายดอกและนายทองแก้ว ถือเป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มของ 11 วีรชนแห่งชาวบ้านบางระจัน ซึ่งการรบที่บางระจันเป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและ เมืองต่าง ๆ ที่พานมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจันในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า “เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น” และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทย

โดยในปี พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกมาจากพม่า ซึ่งแต่เดิมแล้วมีภารกิจที่จะปราบปรามกบฏต่ออาณาจักรพม่าเท่านั้น แต่เนื่องจากความอ่อนแอของอาณาจักรอยุธยา เนเมียวสีหบดีจึงตั้งเป้าหมายที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไปด้วย

ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีรุกเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาจากทางเหนือ ได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมือง วิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหารพม่านำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ 20 คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน

ในเวลานั้นชาวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่อ อื่นๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 7 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายดอก และนายทองแก้ว รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งซ่องสู้กับกองทัพพม่า

วีรกรรมอันกล้าหาญชาญชัยของนักรบไทยค่ายบางระจันสมัยนั้น เป็นที่ภาคภูมิใจและประทับอยู่ในความทรงจำของคนไทยทุกคนตลอดมาประชาชนชาวเมืองอ่างทองจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายดอก และนายทองแก้วไว้ที่บริเวณวัดวิเศษชัยชาญอำเภอวิเศษชัยชาญ โดยที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2520 ดังนั้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี ชาวเมืองอ่างทอง จึงได้กระทำพิธีวางมาลาสักการะอนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดี ในวีรกรรมความกล้าหาญของท่านเป็นประจำทุกปี




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดสระแก้ว
ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครด้านทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร ห่างจากพระนครศรีอยุธยาด้านทิศเหนือ 15 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอ่างทองด้านทิศเหนือ 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่ดินตั้งวัดทั้งสิ้น 33 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา ปัจจุบันมีผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ดินที่จัดผลประโยชน์โดยมูลนิธิสระแก้วมูลนิธิ วัดสระแก้ว เดิมช...
หมู่บ้านทำกลอง
งอยู่ที่ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านที่นี่เขาริเริ่มผลิตกลองกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว เขาจะใช้ไม้ฉำฉามาทำกลองเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายและอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญ คือ หนังวัว ที่ต้องเตรียมไว้สำหรับขึงทำหน้ากลองนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ สามารถชมกรรมวิธีการทำกลอง ตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้เรื่อยๆไปจนถึงขั้นต...
ตลาดวิเศษชัยชาญ
หากได้มาเที่ยวจังหวัดอ่างทองแล้ว เป็นที่รู้กันว่าต้องไม่พลาดที่จะไปตลาดวิเศษชัยชาญ หรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า ตลาดศาลเจ้าโรงทอง ตลาดวิเศษชัยชาญแห่งนี้เป็นตลาดโบราณที่มีชื่อเสียงของอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองที่มีความเก่าแก่มากกว่า 100 ปี ตลาดศาลเจ้าโรงทอง แต่เดิมเป็นตลาดเก่าแก่ที่คึกคักใหญ่โตมาก บรรยากาศก็เป็นเรือนแถวไม้เหมือนกับตลาดโบราณหลายต่อหลายแห่งที่คงได้เคยไปเที่ยวกันมาแล้วที่สำคัญย่านนี้ยังเคยเป...
วัดปลดสัตว์
วัดปลดสัตว์ เดิมมีนามว่า “วัดสะแก” ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ.2400 ได้เริ่มมีการบูรณะขึ้นโดยมี ขุนธรรมการ (ทองคำ) ได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์มีนามใหม่ว่า “วัดดำรงค์ธรรม” ครั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จตร...
วัดสระเกษ
วัดสระเกษ วัดนี้เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ “บ้านสระเกษ”วัดสระเกษ วัดนี้เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ บ้านสระเกษ ขึ้นอยู่กับแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ มีกล่าวไว้ในพระรา...
วัดโพธิ์หอม (วัดป่าหัวพัน)
วัดโพธิ์หอม เดิมเป็นวัดร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดโพธิ์หอม หรือ วัดป่าหัวพัน มีสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือ ปูนปั้นรูปบุคคล 4 หน้า ซึ่งเรียกว่า “รูปพรหมสี่หน้า หรือ พรหมพักตร์” มีขนาดค่อนข้างใหญ่ 2 เศียร ตั้งประดับประดาอยู่บนพานปูนปั้นหน้าศาลาซึ่งสร้างบนฐานของพระอุโบสถเดิม สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นส่วนยอดของประตูวัดหรืออุโบสถ หากว่ารูปปูนปั้นซึ่งมีจำนวน 2 ชิ้นนี้เป็นศิลปวัตถุของวัดนี้มาแต่เดิม เป็นเรื่องที่น่...
ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง
ตั้งอยู่ ถนนเลี่ยงเมือง ริเริ่มและดำเนินการโดยเทศบาลเมืองอ่างทอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองท้องถิ่น เทศบาลเมืองอ่างทองได้ทำการเปิดศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง (นายกมล จิตระวัง) มีวัตถุประสงค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวอ่างทอง และนักเรียน นักศึกษารวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ให้ข้อมูลความเป็นมาและเป็นไปขอ...
อนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์
อนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ตั้งอยู่ที่วัดนรสิงห์ หมู่ ๒ บ้านตะพุ่น ตำบลนรสิงห์ ตามทางหลวงหมายเลข 3501 สายอ่างทอง-ป่าโมก-อยุธยา กิโลเมตรที่ 9-10 พันท้ายนรสิงห์ซึ่งเป็นชาวบ้านนรสิงห์ และเป็นพันท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยสมัยพระเจ้าเสือ ซึ่งยืนยันขอรับโทษประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาลที่ไม่สามารถบังคับเรือพระที่นั่ง จนหัวเรือกระแทกกิ่งไม้หักลง เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป พฤติกรรมของพันท้ายนรสิงห์ได้รั...

โรงแรมใกล้เคียง