ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > วัดสระเกษ



วัดสระเกษ

- ป่าโมก อ่างทอง -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดสระเกษ วัดนี้เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ “บ้านสระเกษ”

วัดสระเกษ วัดนี้เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ บ้านสระเกษ ขึ้นอยู่กับแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ มีกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อ พ.ศ. 2128 พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่บ้านสระเกษ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้รุกไล่ตีทัพของพระเจ้าเชียงใหม่จนแตกพ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาวัดสระเกษ เมื่อปี พ.ศ. 2513 เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วัดสระเกษ ตั้งอยู่เลขที่ 53 บ้านสระเกษ หมู่ที่ 7 ตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 22।50 เมตร บูรณะ พ.ศ. 2506 โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญกว้าง 15 เมตร ยาว 26 เมตร สร้าง พ.ศ. 2519 เป็นอาคารคอนกรีต กุฎิสงฆ์ จำนวน 5 หลัง เป็นอาคารไม้สุสานกว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ วัดสระเกษ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1892 ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมมีนามว่า “วัดเสาธงหิน” มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้กรีธาทัพขับไล่ข้าศึกถึงบ้านชะไว และได้ชัยชนะจึงให้ชื่อว่าบ้านไชโย เมื่อขับไล่ข้าศึกไปแล้วได้พักทัพที่วัดเสาธงหินสรงน้ำสระเกษาที่วัดนี้ ต่อมาจึงได้เรียกว่า “วัดสระเกษ” ถือเป็นมงคลนาม วัดสระเกษถือว่าเป็นวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 2320 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 10 เมตร ยาว 22.50 เมตร ที่วัดนี้มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการตั้งอยู่ด้วย

การเดินทาง

ใช้เส้นทางสายพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 32 จากกรุงเทพฯ แยกเข้าเส้นทางสายเอเชีย ผ่านอำเภอบางปะอิน-พระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน-อ่างทอง รวมระยะทาง 105 กิโลเมตร




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


บ้านทรงไทยจำลอง ส่วนประกอบบ้านทรงไทย เครื่องเรือนไม้ตาล
โดยทั่วไปเมื่อต้องการทราบถึงประวัติความเป็นมา ขนมธรรมเนียมประเพณีต่างๆในสมัยก่อนนั้น คนรุ่นหลังอย่างเราๆนี้ก็คงนึกถึงตำราที่รวบรวมเรื่องเล่าเรื่องราวที่จารึกไว้เป็นอย่างแรก แท้ที่จริงแล้ว ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมนั้น สามารถสะท้อนให้เห็นผ่านผลงาน ศิลปะ ประติมากรรม รวมไปถึงสถาปัตยกรรมของตึกรามบ้านช่องได้เช่นกัน จากในบรรดาที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น บ้านทรงไทย ถือเป็นหนึ่งในศิลปะที่ล้ำค่าที...
หมู่บ้านจักสาน
งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นของอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือน ที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษณ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอินทประมูลที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนิน...
ศูนย์เจียระไนพลอย
อยู่ในบริเวณเดียวกับแหล่งผลิตเครื่องจักสานที่บางเจ้าฉ่า เป็นศูนย์รวมการเจียระไนพลอยของหมู่บ้านและมีพลอยรูปแบบต่างๆ ที่สวยงามเป็นจำนวนมาก เปิดให้เข้าชมตลอดปีการเดินทางไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงคลองชลประทานยางมณี จากนั้นเลี้ยวขวาเลียบคลองไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาไปตามทางเข้าวัดยางทอง ศูนย์เจียระไนพลอยจะอยู่บริเวณหลังวัดยางทอง
วัดป่าโมกวรวิหาร
ภายในวัดมีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ พงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชา ได้เสด็จมาชุมนุมพล และถว...
หมู่บ้านทำกลอง
งอยู่ที่ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านที่นี่เขาริเริ่มผลิตกลองกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว เขาจะใช้ไม้ฉำฉามาทำกลองเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายและอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญ คือ หนังวัว ที่ต้องเตรียมไว้สำหรับขึงทำหน้ากลองนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ สามารถชมกรรมวิธีการทำกลอง ตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้เรื่อยๆไปจนถึงขั้นต...
ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง
ตั้งอยู่ ถนนเลี่ยงเมือง ริเริ่มและดำเนินการโดยเทศบาลเมืองอ่างทอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองท้องถิ่น เทศบาลเมืองอ่างทองได้ทำการเปิดศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง (นายกมล จิตระวัง) มีวัตถุประสงค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวอ่างทอง และนักเรียน นักศึกษารวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ให้ข้อมูลความเป็นมาและเป็นไปขอ...
สปา - กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรป่าโมกพัฒนา
จากเดิมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้รวมกลุ่มกันทำผลิตภัณฑ์ เต้าเจี้ยว กล้วยตาก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องแยกย้ายกันไป ซึ่งเสงี่ยม ไม้แป้น หนึ่ง ประธานกลุ่มแม่บ้านฯ ที่อาชีพเดิมคลุกคลีในแวดวงเกษตรกรรมมาเกือบทั้งชีวิต หลังจากแนวคิดที่เธอจะทำสมุนไพรขายได้ผุดขึ้นมาในสมอง การรวมกลุ่มแม่บ้านฯ จึงหวนกลับมาอีกครั้ง และบทสรุปของอาชีพที่ลงตัวของพวกเธอในตอนนี้คือ "ทำสมุนไพรแปรรูป แบบครบวงจร"บ้านสวนสมุนไพร ครบวงจร ของกลุ่...
วัดสุวรรณเสวริยาราม
ภายในกำแพงแก้วประกอบด้วย โบสถ์ เจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ พระพุทธไสยาสน์ยาวราว 10 เมตร ที่แปลกคือ ที่รอยพระบาทของพระพุทธไสยาสน์ทำเป็นริ้วลายพระบาทแบบเป็นรอยโค้งเว้า ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ที่ช่างท้องถิ่นไทยนำรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาผสม คือมีช่องเป็นซุ้มโค้งแบบฝรั่ง ที่วัดสุวรรณเสวริยารามยังมีอีกสิ่งที่น่าสนใจคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถทั้งสี่ด้าน เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 4-5 ซึ่งได้รับอิทธ...

โรงแรมใกล้เคียง