ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอท่าเรือ > พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม

- ท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม หรือ วังจันทรเกษม หรือ วังหน้า ตั้งอยู่ถนนอู่ทอง ริมแม่น้ำป่าสักมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองใกล้ตลาดหัวรอ วังจันทรเกษมปรากฎหลักฐานพงศาวดารว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชประมาณ พ.ศ.2120 เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเคยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราชและพระมหากษัตริย์หลายพระองค์

เมื่อคราวเสียกรุงในปีพ.ศ.2310 วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมากและถูกทิ้งร้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยาและพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยาและพระราชทานนามว่า “พระราชวังจันทรเกษม” เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2436 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระที่นั่งพิมานรัตยาเป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่าเมื่อพ.ศ. 2442 และจนกระทั่งเมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าจึงได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงทางด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาดูแลและจัดทำเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษมจนกระทั่งปัจจุบัน

โบราณสถานโบราณวัตถุที่น่าสนใจในพระราชวังจันทรเกษม มีดังนี้ กำแพงและประตูวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐมีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน

พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่ใกล้ประตูวังด้านทิศตะวันออก เป็นพลับพลาเครื่องไม้ มีมุขด้านหน้า 3 มุข ด้านหลัง 3 มุข เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการและเป็นที่ประทับ ต่อมากลายเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ เรียกว่า อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังนี้

พระที่นั่งพิมานรัตยา จัดแสดงประติมากรรมที่สลักจากศิลา เป็นเทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพิมพ์ และเครื่องไม้แกะสลัก

พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ หรือ หอส่องกล้อง เป็นหอสูงสี่ชั้น ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว

ตึกที่ทำการภาค จัดนิทรรศการถาวร 5 เรื่อง คือ เรื่องศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา เครื่องปั้นดินเผาสินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยา อาวุธยุทธภัณฑ์ ศิลปวัตถุพุทธบูชาและวิถีชีวิตริมน้ำชาวกรุงเก่า

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา เมื่อข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วให้เลี้ยวซ้ายตรงไปจนถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายอีกครั้งและตรงไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะผ่านตลาดเจ้าพรหม จากนั้นจะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางซ้ายมือ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์ อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 0-3525-1586, 0-3525-2795 โทรสาร 0-3525-1586

หากใครชื่นชอบการเที่ยวชมวังแล้วละก็พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมก็น่าสนใจไม่น้อย ยิ่งไปกว่านั้นวังแห่งนี้เคยใช้เป็นฉากสำคัญในละครเรื่องสี่แผ่นดินอีกด้วย




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


พิพิธภัณฑ์เรือไทย
เป็นพิพิธภัณฑ์เรือของเอกชนตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับวัดมหาธาตุ ถนนบางเอียน ภายในบริเวณบ้านพักของอาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลาผู้มีความรักและผูกพันกับเรือและน้ำมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งยังได้เป็นอาจารย์ผู้สอน วิชาออกแบบ เขียนแบบ และการต่อเรือ มาตลอดชีวิตที่รับราชการ ณ โรงเรียนช่างต่อเรือ ท่านมีความคิดที่จะอนุรักษ์เพื่อให้เยาวชนได้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น ส่วนที่หนึ่ง อาคารเรือโบราณ จ...
มัสยิดนูรุ้ลยะมาล
มัสยิดนูรุ้ลยะมาล ตั้งอยู่ที่ตำบลลุมพลี อำเภอพระนครศรีอยุธยา ถือเป็นมัสยิดเก่าแก่อีกหลังหนึ่งมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัอยุธยา มัสยิดนูรุ้ลยะมาล เป็นศาสนสถานสำหรับประกอบศาสนกิจและศูนย์รวมศรัทธาของชุมชนชาวไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่ตำบลพลุพีมาเนิ่นนานนับศตวรรษ ตามประวัติเล่าว่ามีกลุ่มทายา เชื้อสายของฮูเซ็นเป็นชาวเปอร์เซียที่นับถือศาสนาอิสลาม ได้พากันสร้างมัสยิดที่บ้านสระบัวแห่งทุ่งลุมพลีนี้มาตั้งแต่สมัยสมเด็...
ตลาดเศียรช้าง
ตลาดเศียรช้างตั้งอยู่ที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดที่ได้นำวิถีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยามาผสมผสานกับความร่วมสมัยในเชิงศิลปะแห่งยุค และไอเดียใหม่ ๆ เพื่อผนวกรวมความเป็นไทยในรูปแบบเฉพาะตัวจนเป็นที่มาของ ตลาดเศียรช้าง ไทย ฮิป มาร์เก็ต สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นในความสร้างสรรค์ศิลปะแบบไทยประยุกต์ รวมถึงร้านรวงที่เข้ามาสร้างสีสันในความฮิปด้วยคอนเซปที่แตกต่างกัน เช่น• ร้านหงิ่น ของหากิน...
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ที่บริเวณทุ่งภูเขาทอง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ก่อสร้างบริเวณทุ่งภูเขาทอง มีเนื้อที่กว่า 543 ไร่ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือตามถนนสายอยุธยา-ป่าโมก-อ่าง...
วัดบางนมโค
วัดบางนมโคห่างจากที่ว่าการอำเภอเสนา ประมาณ 2 กิโลเมตร สันนิษฐานกันว่าวัดบางนมโคสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งกองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2310 นั้น พม่าได้มาตั้งค่ายกองกำลังที่สีกุก อำเภอบางบาล ซึ่งห่างจากวัดบางนมโคประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ พม่าได้ทำการกวาดต้อนผู้คน วัวควายในทุ่งแถบนี้ไปเป็นเชลย เป็นพาหนะ เป็นอาหาร สำหรับเป็นเสบียงสนับสนุนกองทัพ เอาโคของประชาชนไปอยู่ในในที่กองกำ...
วัดพรานนก
เมื่อเอ่ยชื่อ “วัดพรานนก” หลายท่านอาจนึกถึงวัดที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีในกรุงเทพมหานครฯ แท้จริงแล้ว วัดพรานนก แห่งนั้นตั้งชื่อไว้เพื่อระลึกถึงวัดพรานนกและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโพธิ์สาวหาญ อำเภออุทัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2300 ตรงกับช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตำนานเล่าไว้ว่า “พรานทองคำ” ชำนาญการล่านก หนู เลี้ยงชีพ เมื่อพระยาวชิรปราการ (พระยาตาก ในเวลาต่อมา) เ...
วัดสุทธาวาส วิปัสสนา
วัดสุทธาวาส วิปัสสนา ตั้งอยู่ที่บ้านตะพังโคลน หมู่ 4 ตำบลลาดบัวหลวง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 เดิมเรียกว่า วัดตะพังโคลน ตามสถานที่ตั้ง วัดสุทธาวาส วิปัสสนามีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระบรมสารีริกธาตุ ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงประทานให้แก่วัด วัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นวัดที่มีพระเกจิอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นสำนักปฏิบัต...
โบราณสถานวัดนางกุย
ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 5 ตำบลสำเภาล่ม เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาอายุกว่า 400 ปี ผู้ที่สร้างวัดนางกุย ชื่อ “นางกุย” เป็นผู้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายจึงได้สร้างวัดขึ้น ในสมัยก่อนวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วัดนางกุยได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 ได้มาทำการบูรณะปฏ...

โรงแรมใกล้เคียง