ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอท่าเรือ > วัดพนัญเชิงวรวิหาร



วัดพนัญเชิงวรวิหาร

- ท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” (หรือวัดพระนางเชิง)

พระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ตามพงศาวดารกล่าวว่าสร้างเมื่อพ.ศ.1867 ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา 26 ปีเดิมชื่อ “พระพุทธเจ้าพนัญเชิง”(พระเจ้าพะแนงเชิง) แต่ในรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปองค์นี้ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” (ชาวบ้านนิยมเรียกหลวงพ่อโต ชาวจีนนิยมเรียกว่าซำปอกง ผู้คุ้มครองการเดินทางทางทะเล)เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะแบบอู่ทองปางมารวิชัยลงรักปิดทอง มีขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตรและสูง 19.13 เมตร ฝีมือปั้นงดงามมาก เบื้องหน้ามีตาลปัตรหรือพัดยศและพระอัครสาวกที่ทำด้วยปูนปั้นลงรักปิดทองประดิษฐานอยู่เบื้องซ้ายและขวา อาจนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปนั่งสมัยอยุธยาตอนต้นที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง เข้าใจว่าเมื่อสร้างพระองค์ใหม่เสร็จแล้วจึงสร้างพระวิหารหลวงขึ้นคลุมอีกทีหนึ่ง ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อคราวพระนครศรีอยุธยาจะเสียกรุงแก่ข้าศึกนั้น พระพุทธรูปองค์นี้มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง ส่วนในพระวิหาร เสาพระวิหารเขียนสีเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งสีแดงที่หัวเสามีปูนปั้นเป็นบัวกลุ่มที่มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น ผนังทั้งสี่ด้านเจาะเป็นซุ้มเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดเล็กโดยรอบจำนวน 84,000 องค์เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ส่วนประตูทางเข้าด้านหน้าซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นบานประตูไม้แกะสลักลอยตัวเป็นลายก้านขดยกดอกนูนออกมา เป็นลักษณะของศิลปะอยุธยาที่งดงามมากแห่งหนึ่ง

พระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูป 5 องค์ ศิลปะสุโขทัย วิหารเซียน อยู่ด้านหน้าของพระวิหารหลวงเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมเขียนไว้บนผนังทั้งสี่ด้าน แต่ถูกโบกปูนทับไปแล้วเมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์ ข้างในพระวิหารหลังนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะแบบอยุธยา ศาลาการเปรียญ หลังเก่าย้ายจากริมแม่น้ำมาอยู่ด้านหลังของวัด เป็นศาลาทรงไทยสร้างด้วยไม้ หน้าบันประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ บริเวณคอสอง (ขื่อ) ด้านในศาลามีภาพเขียนสีบนผ้าเป็นภาพพุทธประวัติอยู่โดยรอบ มีตัวอักษรเขียนไว้ว่าภาพเขียนสีนี้เขียนขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2472 ภายในศาลามีธรรมาสน์อยู่ 1 หลังสลักลวดลายสวยงามเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์

ภายในวัดพนัญเชิงยังจะพบ ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ก่อสร้างเป็นตึกแบบจีนเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากในเครื่องแต่งกายแบบจีน ชาวจีนเรียกว่า “จูแซเนี๊ย” เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนทั่วไป คนไทยเข้าชมฟรี สำหรับชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชมคนละ 20 บาท

แผนที่การเดินทางไปวัดพนัญเชิงวรวิหาร




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


สวนกล้วยไม้บางไทรการ์เด้น
สวนกล้วยไม้บางไทรการ์เด้น อาณาจักรแห่งกล้วยไม้บนพื้นที่ 500 ไร่ ได้ชื่อว่าเป็นสวนกล้วยไม้ปลูกบนดินแห่งแรกในประเทศไทยที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามสกุลมอคาลาและกล้วยไม้หลากหลายพันธุ์เหมือนสวนทิวลิปในประเทศฮอลแลนด์ ที่นี่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศสวนกล้วยไม้หลากสี การันตีคุณภาพและความงามด้วยรางวัลแชมป์กล้วยไม้ระดับประเทศ นอกจากนี้ ภายในบริเวณสวนยังมีนิทรรศการ พันธุ์กล้วยไม้ และการแสดงพันธุ์กล้วยไม้ประจำปีให้นั...
วัดบรมพุทธาราม
วัดบรมพุทธาราม อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จ พระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ วัดนี้แตกต่างจา...
ชุมชนชาวญวนตำบลไม้ตรา
ชุมชนชาวญวนตำบลไม้ตรา ตั้งอยู่ที่ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามกับศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ในอดีตเมื่อ 150 ปีล่วงมาแล้ว ที่ตำบลแห่งนี้ได้มีชาวญวนที่อพยพจากเขตสามเสนใน กรุงเทพมหานคร ช่วงต้นรัตนโกสินทร์มาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือนและอยู่อาศัยต่อมาจนกลายเป็นชุมชนชุมชนหนึ่ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่นี่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มีโบสถ์อยู่ในหมู่บ้าน ปัจจุบัน...
วัดช้างใหญ่
วัดช้างใหญ่ อยู่ใกล้กับวัดตูม ตั้งอยู่เลขที่ 46 หมู่ 1 ตำบลวัดตูม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญต่อช้างและเอกราชของชาติในสมัยอยุธยาเป็นอย่างยิ่งพระสมุห์สมจิตร์ สํวุฑโฒ เจ้าอาวาสวัดช้างใหญ่เล่าไว้ว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับชาวมอญมาแต่โบราณด้วยชาวมอญที่นี่มีความสามารถพิเศษในการฝึกเลี้ยงช้างเพื่อถวายแด่พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หัวหน้าชาวม...
วัดบรมวงศ์อิศรวราราม
วัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหารเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกริมแม่น้ำป่าสัก ห่างจากชายตลิ่ง 220 เมตรในท้องที่หมู่บ้านเพนียด ตำบลบ้านสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเป็นวัดราษฎร์มีนามว่า วัดทะเลหญ้า เพราะตั้งอยู่กลางทุ่งหญ้าถึงฤดูฝนตกน้ำท่วมตลอดทุกปี อีกที่มาหนึ่ง อาจจะมาจากคำว่าทำเลหญ้าก็ได้ วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ได้กลายสภาพเป็น...
ตลาดลาดชะโด
ตลาดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี เริ่มจากเรือนแพค้าขายของชาวจีนที่ตั้งอยู่สองฝั่งคลอง ต่อมาได้สร้างเป็นตลาดไม้ริมน้ำ แล้วขยายขึ้นไปบนบกเรื่อยๆ จำนวนเกือบร้อยคูหา เป็นเรือนแถวขนาดใหญ่หันหน้าเข้าหากัน ทางเดินกว้างขวางในชุมชนมีวัด โรงเรียน ศาลเจ้า โรงสีและโรงภาพยนตร์ที่ยังคงสภาพแบบเดิม ชุมชนลาดชะโดเดิม เรียกว่าบ้านจักราช เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นหลังจากพม่าปล้นกรุงศรีอยุธยาและถอนกำลังลงไปในปี พ.ศ.2310 บริเวณบ้านจักราช มี...
วัดสุทธาวาส วิปัสสนา
วัดสุทธาวาส วิปัสสนา ตั้งอยู่ที่บ้านตะพังโคลน หมู่ 4 ตำบลลาดบัวหลวง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 เดิมเรียกว่า วัดตะพังโคลน ตามสถานที่ตั้ง วัดสุทธาวาส วิปัสสนามีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระบรมสารีริกธาตุ ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงประทานให้แก่วัด วัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นวัดที่มีพระเกจิอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นสำนักปฏิบัต...
พิพิธภัณฑ์เรือไทย
เป็นพิพิธภัณฑ์เรือของเอกชนตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับวัดมหาธาตุ ถนนบางเอียน ภายในบริเวณบ้านพักของอาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลาผู้มีความรักและผูกพันกับเรือและน้ำมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งยังได้เป็นอาจารย์ผู้สอน วิชาออกแบบ เขียนแบบ และการต่อเรือ มาตลอดชีวิตที่รับราชการ ณ โรงเรียนช่างต่อเรือ ท่านมีความคิดที่จะอนุรักษ์เพื่อให้เยาวชนได้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น ส่วนที่หนึ่ง อาคารเรือโบราณ จ...

โรงแรมใกล้เคียง