ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอท่าเรือ > วัดมเหยงคณ์



วัดมเหยงคณ์

- ท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

เมื่อพิจารณาทางด้านภาษาศาสตร์ คำว่า มเหยงคณ์ มีรากศัพท์บาลีว่า มหิยังคณ์ แปลว่า ภูเขาหรือ เนินดิน ซึ่งก็ตรงกับลักษณะทางภูมิประเทศของวัดเนื่องจากส่วนพุทธาวาสนั้นตั้งอยู่บนเนินดินสูง จุดสังเกตของวัดคือผนังอุโบสถซึ่งก่อด้วยอิฐสีแดงตระหง่านแต่ไกล

เดิมทีวัดมเหยงคณ์เป็นพระอารามหลวง แต่หลังจากเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพุทธศักราช 2310 วัดนี้ก็กลายเป็นวัดร้าง อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาวัดมเหยงคณ์ก็มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญด้านจิตใจของผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้าง ทะนุบำรุงพระอารามแห่งนี้สืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี

นอกจากผนังอุโบสถที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว วัดมเหยงคณ์ยังมีจุดที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น ที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของลานธรรมจักษุ เดิมทีเรียกว่าโคกต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นเนินดินตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพุทธาวาส ลักษณะเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ยาว 58 เมตร กว้าง 50 เมตร อาจเป็นที่ตั้ง พลับพลาที่ประทับของพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ ต่อมาเมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้ คงได้สร้างเจดีย์เล็ก ๆ หรือสิ่งก่อสร้างอื่น เพราะสังเกตเห็นเป็นมูลดินเตี้ย ๆ คล้ายเจดีย์อยู่หลายแห่ง ได้พบรากฐานอิฐและกระเบื้องอยู่มาก สำหรับเจดีย์ด้านตะวันออกของพระวิหาร 2 องค์ ซึ่งเป็นเจดีย์แบบลังกา ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ 10 เมตร ฐานของเจดีย์รับปากระฆังเป็นรูปแปดเหลี่ยมเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.00 เมตร ขอบขององค์ระฆังทำเป็นลวดคาด 5 ชั้น บัลลังก์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสคงเหลือเพียงปล้องไฉนเท่านั้น ส่วนยอดชำรุด สำหรับพระอุโบสถ ภายในประกอบด้วยแท่นฐานชุกชี 2 แท่น พระพุทธรูปประธานเป็นหินทราย หักล้มลงเป็นท่อน ๆ ตัวพระอุโบสถนี้ มีกำแพงแก้ว 2 ชั้น มุมของแต่ละขั้นย่อเหลี่ยม ตรงมุมกำแพงแก้วชั้นนอกมีเจดีย์เล็ก ๆ ทรงลังกาประกอบกำแพงแก้วชั้นนอก และใบเสมาซึ่งทำจากหินสีเขียว

ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน วัดมเหยงคณ์ เป็นโบราณสถานแห่งชาติ และวัดยังจัดกิจกรรมต่างๆสำหรับพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่น่าสนใจ เช่นกิจกรรมบวชเนกขัมมภาวนาในช่วงเทศกาลสำคัญของชาติและศาสนา การจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานระยะเวลา 9 วันเดือนละ 1 ครั้ง การถือศีลอุโบสถ ค้างคืนที่วัดทุกวันพระตลอดปี การจัดอบรมปฏิบัติธรรมพิเศษแก่คณะข้าราชการหรือเอกชน และการรับกุลบุตรที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาบรรพชาเป็นภิกษุ สามเณรเพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก
ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ริมท่าน้ำวัดพนัญเชิงวรวิหาร ตำบลคลองสวนพลู พระนครศรีอยุธยา ชาวจีนรู้จักกันดีในชื่อ ศาลเจ้าแม่อาเนี้ย นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่เก่าแก่ของพระนครศรีอยุธยา และเป็นหลักฐานของตำนานเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ธิดาแห่งพระเจ้ากรุงจีน เรื่องราวของเจ้าแม่สร้อยดอกหมากมีความเป็นมาอันยาวนานในหมู่ชาวกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานเล่าว่าพระเจ้ากรุงจีนได้พระราชทานพระราชธิดา นามว่า เจ้าหญิงสร้อยดอกหมาก ให้แก่พระเ...
โบราณสถานวัดนางกุย
ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 5 ตำบลสำเภาล่ม เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาอายุกว่า 400 ปี ผู้ที่สร้างวัดนางกุย ชื่อ “นางกุย” เป็นผู้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายจึงได้สร้างวัดขึ้น ในสมัยก่อนวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วัดนางกุยได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 ได้มาทำการบูรณะปฏ...
วัดพิชัยสงคราม
วัดพิชัยสงคราม วัดแห่งนี้เป็นวัดราษฎร์โบราณ ปัจจุบันมีพระสงฆ์จำพรรษา ตั้งอยู่ที่ตำบลกระมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ใกล้สถานีรถไฟจังหวัด พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มวัดแห่งนี้มีนามเดิมคือ วัดพิชัย หรือในบางราชพงศาวดารสะกดว่า วัดพิไชย อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารว่าใครเป็นผู้สร้าง ทราบเพียงว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 วัดพิชัยเพิ่งได้เปลี่...
วัดพนัญเชิงวรวิหาร
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งซึ่งครองเมืองอโยธยาเป...
ตลาดเศียรช้าง
ตลาดเศียรช้างตั้งอยู่ที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดที่ได้นำวิถีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยามาผสมผสานกับความร่วมสมัยในเชิงศิลปะแห่งยุค และไอเดียใหม่ ๆ เพื่อผนวกรวมความเป็นไทยในรูปแบบเฉพาะตัวจนเป็นที่มาของ ตลาดเศียรช้าง ไทย ฮิป มาร์เก็ต สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็นในความสร้างสรรค์ศิลปะแบบไทยประยุกต์ รวมถึงร้านรวงที่เข้ามาสร้างสีสันในความฮิปด้วยคอนเซปที่แตกต่างกัน เช่น• ร้านหงิ่น ของหากิน...
วัดเชิงท่า
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมือง ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี ใกล้กับคูไม้ร้องซึ่งเป็นอู่เก็บเรือพระที่นั่ง ที่ตั้งของวัดอยู่บริเวณท่าข้ามเรือของฝั่งเกาะเมืองมาขึ้นฝั่งวัดเชิงท่า ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า วัดเชิงท่า หรือวัดตีนท่า ไม่มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าวัดเชิงท่าสร้างขึ้นในสมัยใด หรือโดยใคร แต่วัดเชิงท่าผูกพันกับตำนาน เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และถูกกล่าวถึงในวรรณคดีไทย จึงทำให้วัดเชิงท่ามีชื่อเรียกหลากหลาย ...
วัดสุทธาวาส วิปัสสนา
วัดสุทธาวาส วิปัสสนา ตั้งอยู่ที่บ้านตะพังโคลน หมู่ 4 ตำบลลาดบัวหลวง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 เดิมเรียกว่า วัดตะพังโคลน ตามสถานที่ตั้ง วัดสุทธาวาส วิปัสสนามีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระบรมสารีริกธาตุ ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงประทานให้แก่วัด วัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นวัดที่มีพระเกจิอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติกรรมฐาน และเป็นสำนักปฏิบัต...
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์ที่ขุดได้จากกรุ วัดราชบูรณะซึ่งเป็นวัดที่เจ้าสามพระยาทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นอาคารจัดแสดง 3 อาคาร คือ อาคาร 1 ชั้นล่าง จัดแสดงโบราณศิลปะวัตถุที่ค้นพบจากการขุดแต่งและบูรณะโบราณส...

โรงแรมใกล้เคียง