ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอวิเศษชัยชาญ > วัดม่วง



วัดม่วง

ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ อ่างทอง วิเศษชัยชาญ อ่างทอง 14110




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ เพราะท่านพระครู เป็นผู้มีบารมี ที่สามารถจะก่อสร้างบูรณะวัดม่วง ขึ้นมาใหม่ได้ด้วย ผู้ที่เคยอาศัยในสมัยก่อนได้มาเกิด และจะมาช่วยท่านแล้ว และในบริเวณวัดร้างนี้จะมีศิลาขาว และศิลาแดงอยู่ คือ องค์ของหลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง นั้นเอง ซึ่งต่อมาท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการปั้นองค์พระครอบศิลาขาว และศิลาแดงไว้ โดยเรียกนามว่า หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง จนถึงปัจจุบันนี้

ในปีพ.ศ. 2526 ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการเริ่มบูรณะและได้สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้น โดยได้รับการบริจาค ทั้งเงินทำบุญ และทำบุญด้วยแรงงาน ร่วมกันดำเนินงานในการก่อสร้าง

จนกระทั้งวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีการประกาศยกฐานะให้วัดม่วง ซึ่งเคยเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ได้มีการแต่งตั้งท่านพระครูวิบูลอาจารคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วง ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ. อ่างทอง

เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชจักรี ได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดม่วง เป็นต้นมา

ในปีพ.ศ. 2534 ท่านพระวิบูลอาจารคุณ ได้ร่วมพลังจิตอธิฐาน ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อน้อมถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙ และราชวงศ์จักรี มีพระนามว่า พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ มีหน้าตักกว้าง 62 ม. สูง 93 ม. มูลค่าในการก่อสร้าง 106,000,000 บาท ( หนึ่งร้อยหกล้านบาท )

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2534 ( วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ) ปีมะเมีย เวลา 9.00 น. ได้วางศิลาฤกษ์ โดยสมเด็จพระโฆษาจารย์ วัดสุวรรณดาราม กทม. เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระครูวิบูลอาจารคุณ (หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) เป็นประธานฝ่ายดำเนินการก่อสร้าง และหาทุน และให้กฤษ์การก่อสร้างได้ดำเนินมา จนสำเร็จใน 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ( วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ) รวมเป็นเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 16 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 - 2550

ปัจจุบันวัดม่วงแห่งนี้ มีเนื้อที่ทั้งหมด 72 ไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าว ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้ซื้อรวบรวมได้ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ โดยวัตถุประสงค์ เพื่อทำโครงการ ดังต่อไปนี้

สถานที่ศึกษาพระธรรม พระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรม สำหรับ พระภิกษุสงฆ์ และประชาชน

สร้างโรงพยาบาลสงฆ์

ศูนย์จำหน่ายสินค้าศิลปาชีพในโครงการหลวง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา แก่ชาวไทย และชาวต่างประเทศ

การเดินทาง

วัดม่วงตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร ถ้าตั้งต้นจาก กรุงเทพ ไปตามถนนสายเอเชีย แล้วเข้าตัวเมืองอ่างทอง ผ่านตลาดแล้วเลี้ยวขวา ผ่านหน้าเรือนจำ เจอทางแยกเลี้ยวซ้าย (ไปสุพรรณบุรี) ไปตามเส้นทางสาย โพธิ์พระยาท่าเรือ วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เห็นพระพุทธรูปแต่ไกล




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดเขียน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดเขียน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 ตอนนั้นสภาพของอุโบสถย่ำแย่ หลังคาทรุดโทรม น้ำฝนไหลชะภาพเขียนออกไปเสียมาก ต่อมาเมื่อมีการออกข่าวแพร่หลายก็ได้มีผู้สนใจไปดูกันมาก รวมทั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินที่วัดเขียน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการซ่อมแซมพระอุโบสถโดยการรักษาสภาพเดิมไว้ และรื้อหลังคาเดิม...
วัดวิเศษชัยชาญ
สุวรรณ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดวิเศษชัยชาญ” วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 แต่ภายหลังได้เขียนคำว่า “ไชย” มาเป็น “ชัย” ให้สอดคล้องตรงกับชื่ออำเภอ และอักขรวิธีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นของทางราชการ เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา มีห้องสมุด และมูลนิธิสาธารณกุศลตั้งอยู่ที่วัดนี้ด้วยวัดวิเศษชัยชาญเป็นวัดคู่บ้านคู่เมื...
วัดอ้อย
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของวิเศษชัยชาญ ดูจากรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นสมัยอยุธยาที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ มีลักษณะใหญ่สัดส่วนบึกบึน สง่างามคล้ายอุโบสถวัดพุทไธสวรรย์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือมีเสาระเบียงรอบอุโบสถเป็นเสาแปดเหลี่ยมใหญ่ 4 ต้น ด้านหน้า ด้านข้างเป็นเสาเหลี่ยม หัวเสาเป็นรูปบัวแวง มีหน้าบันเล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยในส่วนที่คลุมโถงกลาง ส่วนหลังคาที่คลุมส่วนข้างมุงด้วยกระเบื้องห...
วัดสี่ร้อย
ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “กองอาทมาต”พระยารัตนาธิเบศร์ ยกกองทัพไปตั้งที่เม...

โรงแรมใกล้เคียง