ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอวิเศษชัยชาญ > วัดเขียน



วัดเขียน

บ้านบางกระพัน หมู่ 8 อำเภอวิเศษชัยชาญ อ่างทอง วิเศษชัยชาญ อ่างทอง 14110




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดเขียน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 ตอนนั้นสภาพของอุโบสถย่ำแย่ หลังคาทรุดโทรม น้ำฝนไหลชะภาพเขียนออกไปเสียมาก ต่อมาเมื่อมีการออกข่าวแพร่หลายก็ได้มีผู้สนใจไปดูกันมาก รวมทั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินที่วัดเขียน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการซ่อมแซมพระอุโบสถโดยการรักษาสภาพเดิมไว้ และรื้อหลังคาเดิมออก จากนั้นได้ก่อผนังขนาบภายนอกให้คร่อมทับของเดิม แล้วจัดการมุงหลังคาเสียใหม่ สภาพจึงได้เข้าสู่ความเรียบร้อยดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ รวมทั้งเสมากับแท่นปูนฐานสิงห์รองรับใบเสมารอบพระอุโบสถ อันเป็นใบเสมาในระยะต้นของรูปแบบเสมาอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะเป็นพระเกี้ยวครอบทับเสมา ตรงกลางเสมามีลายเป็นแบบทับทรวง เหมือนใบเสมารุ่นก่อนวัดไชยวัฒนารามทั่วไป ดังเช่นใบเสมาวัดในวรวิหารสมุทรปราการ

แบบแผนการวาดภาพจิตกรรมที่ปรากฏ มีดังนี้

ภาพผนังบนผนังทางด้านทิศใต้เป็นเรื่องมโนราห์ มีรูปป้อมแปดเหลี่ยมที่มุมกำแพง เป็นหอซ้อนกัน 2 ชั้น แต่ละด้านก่อช่องโค้งแบบโค้งมน ยอดหลังคาชั้นบนลดหลั่นกัน 2 ชั้น รูปทรงแบบฝรั่งบ่งว่าได้รับอิทธิพลจากฝรั่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วก็เป็นอันเชื่อว่าอายุภาพการเขียนอยู่ในระยะต้นของสมัยอยุธยาตอนปลายอย่างชัดเจน

ซุ้มประตูกำแพงเมืองทางผนังทางทิศใต้ เป็นแบบซุ้มเรือนคฤหาสน์หรือปราสาทยอดแหลม เช่นเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่ในภาพเขียนวัดใหม่เทพนิมิต สมัยอยุธยาตอนปลาย

ภาพผนังด้านทิศใต้เขียนรูปปราสาททรงสูง ยอดปราสาทแหลมสะพรั่ง ข้างในระบายด้วยสีแดงชาด เป็นแบบแผนของภาพเขียนไทยอันนิยมมาแต่สมัยโบราณ พื้นชาลาหรือพื้นดินระบายด้วยสีเข้มหนักจนเกือบเป็นสีดำ

ภาพมุมด้านข้างทางทิศตะวันออก มีรูปพระพุทธเจ้าและอัครสาวกห่มจีวรสีแดง แบบที่ศิลปะอยุธยาทั่ว ๆ ไป เขียนเช่นเดียวกันนี้ มีภาพกษัตริย์กำลังแผลงศรในท่าครู ดังที่เคยเห็นจากภาพในเรื่องรามเกียรติ์ทั่ว ๆ ไป

การเดินทาง

จากตัวเมืองอ่างทองใช้ทางหลวงหมายเลข 3195 มุ่งหน้ามายังอำเภอวิเศษชัยชาญ แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3454 ตรงไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดเขียนตั้งอยู่ทางขวามือ




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดม่วง
เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมากเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ท่านพระ...
วัดสี่ร้อย
ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “กองอาทมาต”พระยารัตนาธิเบศร์ ยกกองทัพไปตั้งที่เม...
วัดวิเศษชัยชาญ
สุวรรณ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดวิเศษชัยชาญ” วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 แต่ภายหลังได้เขียนคำว่า “ไชย” มาเป็น “ชัย” ให้สอดคล้องตรงกับชื่ออำเภอ และอักขรวิธีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นของทางราชการ เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา มีห้องสมุด และมูลนิธิสาธารณกุศลตั้งอยู่ที่วัดนี้ด้วยวัดวิเศษชัยชาญเป็นวัดคู่บ้านคู่เมื...
วัดอ้อย
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของวิเศษชัยชาญ ดูจากรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นสมัยอยุธยาที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ มีลักษณะใหญ่สัดส่วนบึกบึน สง่างามคล้ายอุโบสถวัดพุทไธสวรรย์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือมีเสาระเบียงรอบอุโบสถเป็นเสาแปดเหลี่ยมใหญ่ 4 ต้น ด้านหน้า ด้านข้างเป็นเสาเหลี่ยม หัวเสาเป็นรูปบัวแวง มีหน้าบันเล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยในส่วนที่คลุมโถงกลาง ส่วนหลังคาที่คลุมส่วนข้างมุงด้วยกระเบื้องห...

โรงแรมใกล้เคียง