ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอวิเศษชัยชาญ > วัดสี่ร้อย



วัดสี่ร้อย

บ้านสิโรจน์ หมู่ 4 ตำบลสิโรจน์ อำเภอวิเศษชัยชาญ อ่างทอง วิเศษชัยชาญ อ่างทอง 14110




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “กองอาทมาต”

พระยารัตนาธิเบศร์ ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้สั่งให้ขุนรองปลัดชูคุมกองอาทมาต ไปตั้ง สกัดกองทัพพม่าที่อ่าวหว้าขาว ตั้งอยู่เหนือที่ว่าการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันนี้



พอกองทัพพม่ายกทัพผ่านมา ขุนรองปลัดชูจึงคุม ทหารเข้าโจมตีรบด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอน ถึงแม้ทหารของไทยจะน้อยกว่า แต่ก็ฆ่าฟันพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก การต่อสู้ผ่านไป 1 คืน ถึงเที่ยงวัน รุ่งขึ้นก็ยังไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ เพราะพม่ายกทัพหนุนเข้ามาช่วยอีก

ด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงเหนื่อยอ่อนแรง ในที่สุดก็ถูกพม่ารุกไล่โจมตีแตกพ่ายยับเยิน แต่ทหารกองอาทมาต มีวิชาอาคมแก่กล้า ฟันแทงไม่เข้า ทหารพม่าจึงไสช้างเข้าเหยียบย่ำทหารกองอาทมาตตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็ถูกไล่ลงทะเลจมน้ำตายไปก็มาก ในที่สุด ขุนรองปลัดชู พร้อมด้วยทหารกองอาทมาตแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน ก็เสียชีวิตด้วย ฝีมือของพม่า

ชาววิเศษไชยชาญ เมื่อทราบข่าวก็โศกเศร้าเสียใจ จึงได้แต่ภาวนาขอบุญกุศล ที่ได้สร้างสมไว้จงเป็นปัจจัยส่งผลให้ดวง วิญญาณของทหารกล้าได้ไปสู่สุคติ ความเงียบเหงาวังเวงเกิดขึ้น หมดกำลัง ใจในการทำมาหากิน ไม่มีอะไรดีไปกว่าการร่วมกันสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เป็นที่ระลึกถึงผู้พลีชีพด้วย การสร้างวัดสี่ร้อย ในปี พ.ศ.2313 ใช้ชื่อสี่ร้อย ตามจำนวนกองอาทมาตสี่ร้อยคน ที่ไม่ได้กลับมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชน รุ่นหลังของชาวเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำให้ระลึกถึง บรรพบุรุษที่พลีชีพ เพื่อปกป้องปฐพีถึงกับเสียชีวิต โดยชื่อว่า วัดสี่ร้อย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนทั่วไป

เจ้าอาวาสในขณะนั้นก็ได้ สร้างเจดีย์ ไว้เป็นที่รวบรวมดวงวิญญาณของ ชาวแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ที่เสียชีวิตจำนวน 400 คน

งานประจำปีของวัดสี่ร้อย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ประชาชนทั่วสารทิศจะมานมัสการหลวงพ่อใหญ่ ขอโชคลาภต่างๆนานา ใครมีทุกข์ร้อนประการใดก็มาบอกเล่าหลวงพ่อใหญ่ และมักมีการแก้บนด้วยพลุและละคร ปัจจุบันนี้วัดสี่ร้อยเป็นหนึ่งในแหล่ง ท่องเที่ยวของจังหวัดอ่างทอง

การเดินทาง

จากถนนเส้น 3501 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเส้น 329 ไปอีกราวๆ 8 กม. ข้ามแม่น้ำน้อย จากนั้นเลี้ยวขวาที่สี่แยกเข้าสู่ถนนสาย 3454 อีกประมาณ 6.5 กม. ก็จะเห็น "วัดสี่ร้อย" อยู่ทางขวามือ




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดวิเศษชัยชาญ
สุวรรณ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดวิเศษชัยชาญ” วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 แต่ภายหลังได้เขียนคำว่า “ไชย” มาเป็น “ชัย” ให้สอดคล้องตรงกับชื่ออำเภอ และอักขรวิธีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นของทางราชการ เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา มีห้องสมุด และมูลนิธิสาธารณกุศลตั้งอยู่ที่วัดนี้ด้วยวัดวิเศษชัยชาญเป็นวัดคู่บ้านคู่เมื...
วัดม่วง
เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมากเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ท่านพระ...
วัดเขียน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดเขียน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 ตอนนั้นสภาพของอุโบสถย่ำแย่ หลังคาทรุดโทรม น้ำฝนไหลชะภาพเขียนออกไปเสียมาก ต่อมาเมื่อมีการออกข่าวแพร่หลายก็ได้มีผู้สนใจไปดูกันมาก รวมทั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินที่วัดเขียน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการซ่อมแซมพระอุโบสถโดยการรักษาสภาพเดิมไว้ และรื้อหลังคาเดิม...
วัดอ้อย
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของวิเศษชัยชาญ ดูจากรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นสมัยอยุธยาที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ มีลักษณะใหญ่สัดส่วนบึกบึน สง่างามคล้ายอุโบสถวัดพุทไธสวรรย์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือมีเสาระเบียงรอบอุโบสถเป็นเสาแปดเหลี่ยมใหญ่ 4 ต้น ด้านหน้า ด้านข้างเป็นเสาเหลี่ยม หัวเสาเป็นรูปบัวแวง มีหน้าบันเล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยในส่วนที่คลุมโถงกลาง ส่วนหลังคาที่คลุมส่วนข้างมุงด้วยกระเบื้องห...

โรงแรมใกล้เคียง