ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอวิเศษชัยชาญ > วัดอ้อย



วัดอ้อย

บ้านอ้อย หมู่ 10 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ อ่างทอง วิเศษชัยชาญ อ่างทอง 14110




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของวิเศษชัยชาญ ดูจากรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นสมัยอยุธยาที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ มีลักษณะใหญ่สัดส่วนบึกบึน สง่างามคล้ายอุโบสถวัดพุทไธสวรรย์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือมีเสาระเบียงรอบอุโบสถเป็นเสาแปดเหลี่ยมใหญ่ 4 ต้น ด้านหน้า ด้านข้างเป็นเสาเหลี่ยม หัวเสาเป็นรูปบัวแวง มีหน้าบันเล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยในส่วนที่คลุมโถงกลาง ส่วนหลังคาที่คลุมส่วนข้างมุงด้วยกระเบื้องหางปลา

ภายในวัดอ้อยมีอาคารเสนาสนะต่างๆ มี อุโบสถ 9 เมตร ยาว 19 เมตร โครงสร้างคอนกรีต ศาลาการเปรียญกว้าง 13 เมตร ยาว 18 เมตร เป็นอาคารไม้ กุฎิสงฆ์ จำนวน 5 หลัง เป็นอาคารไม้ หอสวดมนต์ สร้าง พ.ศ.2519 และหอระฆัง สำหรับปูชนียวัตถุ มี พระประธานในอุโบสถ และพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยศิลาแลงเป็นของเก่าแก่ วัดอ้อย สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ.2070 เป็นวัดที่เก่าแก่ อุโบสถได้สร้างมานานเป็นศิลปะสมัยก่อน นับเข้าเป็นวัดชนิดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ.2080 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 21 เมตร ยาว 31 เมตร

การเดินทาง

วัดอ้อยตั้งอยู่เลขที่ 21 บ้านอ้อย ในเขตเทศบาล หมู่ที่ 10 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง อยู่ริมแม่น้ำน้อยฝั่งตะวันตก เหนือตลาดศาลเจ้าโรงทองราว 3 กิโลเมตร และห่างจากวัดเขียนไปทางทิศเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดสี่ร้อย
ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “กองอาทมาต”พระยารัตนาธิเบศร์ ยกกองทัพไปตั้งที่เม...
วัดวิเศษชัยชาญ
สุวรรณ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดวิเศษชัยชาญ” วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 แต่ภายหลังได้เขียนคำว่า “ไชย” มาเป็น “ชัย” ให้สอดคล้องตรงกับชื่ออำเภอ และอักขรวิธีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นของทางราชการ เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา มีห้องสมุด และมูลนิธิสาธารณกุศลตั้งอยู่ที่วัดนี้ด้วยวัดวิเศษชัยชาญเป็นวัดคู่บ้านคู่เมื...
วัดม่วง
เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมากเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ท่านพระ...
วัดเขียน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดเขียน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 ตอนนั้นสภาพของอุโบสถย่ำแย่ หลังคาทรุดโทรม น้ำฝนไหลชะภาพเขียนออกไปเสียมาก ต่อมาเมื่อมีการออกข่าวแพร่หลายก็ได้มีผู้สนใจไปดูกันมาก รวมทั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินที่วัดเขียน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการซ่อมแซมพระอุโบสถโดยการรักษาสภาพเดิมไว้ และรื้อหลังคาเดิม...

โรงแรมใกล้เคียง